ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

New global debt crisis

ช่วงนี้เห็นมีแต่คนพูดว่า เศรษฐกิจจะแย่ บ้างก็มีคำว่าฟองสบู่ออกมาแล้ว (อสังหาบ้าง ,กลุ่ม IT ของอเมริกาบ้าง) ยังไม่นับประเด็นลบต่างๆก็ว่ากันไป 


ผมเองเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในตลาด สิ่งที่ทำไม่ได้ไปเต้นตามความคิดเห็นพวกนี้เท่าไหร่ แต่รับฟังข้อมูล มากกว่าข้อคิดเห็น
คล้ายกับที่ผมฟังเหตุผลของกูรูที่ออกมาเดาตลาดหุ้นจะไป 1700 1800 2000 จุดตอนต้นปีนั้นแหละ
คือใครว่าอะไรมา ผมฟังหมด จะฝ่ายเชียร์ หรือฝ่ายแช่ง แต่ผมไม่เชื่อกูรูหรือเซียนคนไหนสักคน
ผมจะเชื่อในการคิดการวิเคราะห์ของตัวเองมากกว่า แม้จะผิดจะถูกก็ไม่เป็นไรเพราะเราได้ลงมือทำด้วยตัวเอง(ผิดก็ได้เรียนรู้)


พอพูดเรื่องเศรษฐกิจไม่ดี พูดเรื่องปัญหาการเงิน เลยขอเอาตัวอย่างบทความน่าสนใจของ economist มาให้พวกเราดูกัน
เขาเขียนเรื่องของ new global debt crisis โดยยกงานวิจัยเรื่อง 
resilience indicator ของคุณ Rojas-Suarez ซึ่งทำวิจัยเก็บข้อมูลเทียบตั้งมาต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการเงินปี 2008
paper นี้เป็นตัว Update ข้อมูลล่าสุดปี 2014 ดังภาพ ลองเทียบกันดูว่าประเทศไหนดีขึ้นหรือแย่ลงเพียงใด โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเกิดใหม่
ที่หลังซับไพร์มนี่เป็นพระเอกอย่างหล่อเลย 


resilience indicator เหมือนเป็นดัชนีบ่งบอกความแข็งแรงของโครงสร้างเศรษฐกิจ ถ้ามีค่าเป็นบวกมาแปลว่ามีภูมิคุ้มกันที่ดี
การวิเคราะห์ความน่าจะเป็นของการเกิดวิกฤติทางการเงิน งานวิจัยเสนอการพิจารณาปัจจัยสำคัญๆได้แก่ 


1: current-account balance as a percentage of GDP.


2: ratio of total external debt to GDP. Both public and private debts are included.


3: ratio of short-term external debt to gross international reserves


4: ratio of general government fiscal balance to GDP.


5. ratio of government debt to GDP


6. squared value of the deviation of inflation from its announced target. (This is important, since it gives an indication of how constrained a central bank is to respond with counter-cyclical monetary policy.)


7: a measure of financial fragility, characterized by the presence of credit booms or busts. 
 {ไม่แปลนะครับ ลองไปทำการบ้านต่อเอาเอง} 

ดูเป็นไอเดีย ไม่ต้องตระหนกตกใจว่าจะเกิดวิกฤติหรือไม่ เพราะของแบบนี้จากประสบการณ์ผมผ่านมา 2 วิกฤติการเงินโลก ยังไม่เคยเห็นมีโมเดลใดเดาหรือทำนายการเกิดได้แม่นยำจริงๆ ส่วนใหญ่ต้องเฝ้าระวังกันเอาเอง กว่าจะรู้ตัวก็นั้นแหละ เละเทะแล้ว(แต่ละประเทศก็ปิดข้อมูล ก็ยื้อกันสุดๆนั้นแหละ)  แต่อย่างน้อยการอ่าน การศึกษาก็ทำให้เรา เราสามารถมีแนวทางในการเฝ้าระวังได้
พวกเราก็ลองดูงานวิจัยนี้เป็นตัวอย่างได้ครับ



----------------------------------------------