ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

High-Frequency Trading (HFT) ตอนที่ 1

High-Frequency Trading (HFT) คือ ระบบเทรดที่สร้างด้วย algorithm ที่ซับซ้อน จากการวิเคราะห์ market condition และพฤติกรรมราคาของสินค้า หาจังหวะในการเคลื่อน หรือสถานะการเปลี่ยนแปลง จากภาวะต่างๆ การอยู่ใกล้กับตลาด ระยะทางการเชื่อมต่อสั้น ระบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ทำให้ HFT สามารถเข้าถึง information จากการเปลี่ยนแปลงของราคาได้ไวกว่า client อื่นๆ จากนั้นใช้ความเร็ว ที่สูงระดับ microseconds ในการเข้าทำกำไร เปิดปิดออร์เดอร์

สร้างรอบความถี่ที่มากในการส่งคำสั่งเปิดปิดสถานะ เน้นการทำกำไรขนาดเล็กต่อออร์เดอร์ แต่ด้วยความเร็วและจำนวนการส่งคำสั่งที่สามารถจับคู่ได้มาก ทำให้สร้าง payoff ต่อวันจำนวนมหาศาลได้

HFT มีข้อดีแล้วข้อเสียข้อดี เช่น ข้อดีคือ การสร้าง liquidity ให้กับตลาดเพิ่มขึ้น แต่ตามธรรมชาติ HFT มักจะทำงานในตลาด ในสินค้าที่มีสภาพคล่องสูงในระดับหนึ่งอยู่แล้ว แต่ volume ที่มากนำมาซึ่งค่าธรรมเนียมที่มาก และการขยายตัวให้กับ exchange market ด้วยทำให้หลายตลาดทั่วโลกยินยอมเปิดรับ HFT เข้ามา



HFT เน้นการเล่นกับ volatility ที่เกิด เพราะความเร็วการเข้าถึงข้อมูลและการทำงานส่งคำสั่งระดับ  microseconds  ทำให้ได้เปรียบมากกว่าการเทรด ของคนธรรมดา หรือจากระบบคอมพิวเตอร์ปกติ กลยุทธ์การเทรดแบบนี้ เล่นกับภาวะอารมณ์ของคน การตอบสนองของตลาด ไม่ได้สนใจหรือขึ้นกับแนวโน้มและทิศทาง บางครั้งอาจจะทำให้เกิดการตีความที่ผิดของเทรดเดอร์ ถ้าไม่เข้าเรื่อง volatility และ energy ของราคา ตรงนี้เป็นข้อจำกัด เป็นข้อควรระวัง การเทรดตลาดที่มี HFT ออกปฏิบัติการ

ยังไม่นับรวมกบยุทธ์การ spoofing ล่อเหยื่อ การตั้ง Bid หรือ Offer เทียมและทำการ cancel ด้วยความเร็วที่สูง ในวินาทีสุดท้าย หลังจากมี volume จาก player อื่นๆเข้ามาตาม จากนั้นก็ดักทำกำไร จาก order ที่หลงกลตามเข้ามาเป็นต้น 




นอกจากนี้ยังมีประเด็น flash crash ที่เกิดในปี 2010-2014 ในหลายตลาด โดยเฉพาะใน 6 พค. 2010 ตลาด DJ30 การตกลงรุนแรง 1000 จุด ในไม่กี่นาที แบบที่ไม่เคยเจอ เป็น flash cash ครั้งใหญ่ จากนั้นมีการเกิด mini flash crash ตามมาอีกหลายครั้งในอเมริกา และยุโรป รวมถึงตลาดคอมโมดิตี้อย่างทองคำ




http://www.wsj.com/articles/u-k-man-arrested-on-charges-tied-to-may-2010-flash-crash-1429636758


มีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย และดำเนินคดีทางกฏหมายกัน จนระยะหลังต้องมีระเบียบ มีกฏ ข้อบังคับกัน ไม่ได้ยอมให้ HFT ทำงานอิสระเพราะหลายตลาด เช่น สหรัฐมี กฏระเบียบออกมาคุม มากพอสมควรเช่น การสร้างระบบป้องกัน 
flash cash อันเกิดจาก error ของ HFT เพื่อหยุดการซื้อขายได้เร็ว ลดความเสียหายผลกระทบกับ ผู้เล่นรายอื่นๆ รวมถึงการตั้ง Tick size คุมอัตราการเปลี่ยนแปลงราคา เพื่อลดความถี่ของการยิงออร์เดอร์จาก HFT  รวมถึงการไม่ให้สิทธิ์แบบ co location โดยตรงกับ บริษัท HFT เฉพาะ เพื่อทำให้เกิดการกระจาย ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลราคาในตลาดอย่างเป็นธรรม ลดการใช้ความได้เปรียบจากความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล เป็นต้น




HFT ปัจจุบันความเร็วนี่ไป 150 microseconds แล้ว (ตัวเลขจาก Johannesburg Stock Exchange)
ลองอ่านบทความนี่จะพบ หลายประเทศเริ่มศึกษาและเปิดให้ HFT firm เข้าไปเทรดได้ อย่างที่ Mexico, Turkey, South Africa เพราะพวกนี้จะเพิ่ม volume การซื้อขายต่อวันให้ตลาด ยังรวมค่าธรรมเนียมจำนวนมากที่ตลาดจะได้รับ แน่นอนว่าตลาดแบบจีนที่คนกล่าวหาว่ามันเป็น บ่อน ขนาดใหญ่ กับยังไม่มีนโยบายเปิดรับ ผู้ล่าอย่าง HFT ให้เข้าไปดำเนินการ

หลายประเทศขยับตัวในเรื่องนี้ ตามประเทศใหญ่ๆหรือตลาดเงินหลักของโลกที่เปิดให้ HFT เข้าไปดำเนินการเทรดได้ หลายปีมาแล้ว

ญุี่ปุ่นเองเป็นอีกตัวอย่าง Tokyo Stock Exchange มีการเติบโตของการซื้อขายมากกว่าเมื่อ 5 ปีก่อนหลายเท่า คิดเป็น 44% ของการจับคู่คำสั่งซื้อขายทั้งหมดในตลาด TSE




อนาคตการต่อของอุตสาหกรรมการเทรดด้วยคอมพิวเตอร์นี้ โตทุกปี ขยายอณาจักรออกไปเรื่อยๆ เพราะในสหรัฐ ปัจจุบันมีการควบคุมและมีการออกกฏระเบียบที่มากเรื่อยๆ จากประเด็นร้อนที่เกิดกับตลาดในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ HFT firm พยายามขยายออกไปยัง Stock Exchange ขนาดใหญ่ที่ตามทวีปต่างมากขึ้น


http://www.bloomberg.com/news/articles/2015-07-12/flash-boys-welcome-world-exchanges-woo-high-frequency-traders