ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

What coronavirus means for the global economy | Ray Dalio

เช้านี้ผมมีโอกาสได้ฟังคุณ Ray dalio ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับผลกระทบต่อการระบาดของ COVID-19 กับ ระบบเศรษฐกิจ มีหลายประเด็นน่าสนใจมาก และเป็นอีกมุมมองที่จะแตกต่างจากสื่อหลัก หรือมุมมองของกูรูท่านอื่นๆ แต่ผมเชื่อว่ามันมีประโยชน์ในการรับฟัง เลยทำบทสรุป มาให้ลองอ่านดูครับ

 สรุป
- วิกฤติ covid-19 คือ ซึนามิทางเศรษฐกิจ ที่มาจากการหยุดชะงักของกิจกรรมเศรษฐกิจ จาก social distancing ตามด้วยปัญหางบดุล ด้านรายได้หดหาย ขาดรายได้ ทำให้ไม่สมดุล ระหว่างรายได้กับรายจ่าย ทั้งสเกลของ รัฐบาล เอกชน และครัวเรือน
-ปัญหา เงิน(money) และเครดิต(credit)
- หนี้ถูกสร้างสูงขึ้นมากเรื่อยๆ ยิ่งทำให้เกิด Gap ที่อุดได้ยากในงบดุล ในอนาคตแม้ผ่านวิกฤติ covid-19 ต้องหา เงินมาชดเชย เป็นหนี้สาธารณะที่ประชาชนต้องจ่าย
- คล้ายช่วง 1930-1940 มันเป็นจุด stress test ปัจจุบันเป็นช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านสำคัญ(defining moment) ที่จะมี ผลต่ออนาคต ขึ้นกับการจัดการปัญหาสำคัญ เช่น
-ปัญหาทำให้เกิดช่องว่าง เศรษฐกิจ( เงิน(money) และเครดิต(credit)) ,
-ปัญหาช่องว่างทีทำให้เกิดปัญหาทางสังคม การแตกแยกระหว่างชนชั้น คนจนลำบากมากขึ้น เงินของรัฐสนับสนุนมาจากนโยบายการเมือง ซึ่งอาจจะไม่ทั่วถึง หรืออาจจะแยกไปกลุ่มของธุรกิจ คนรวยมาก ที่สนับสนุนพรรคการเมือง มากกว่า กลุ่มคนชั้นล่างอยู่วงนอกที่ได้รับการสนับสนุน
- ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง มาจากความไม่เท่าเทียมทางสังคม ทำให้เกิดการร่วมกลุ่ม เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง(แบบสงบหรือแบบรุนแรง) , การขึ้นมาของอำนาจทางการเมืองใหม่
- New World Order (1945) บทบาทของขั่วอำนาจโลกเปลี่ยน คล้ายช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
- Ray dalio มองว่าในเทอม์ของ Money และ credit ที่เป็นรากฐานระบบเศรษฐกิจ สะท้อนให้เห็นปัจจุบันเราอยู่ในภาวะDepression คล้าย 1929-1932 , เศรษฐกิจแย่ การว่างงานสูง 1933 พิมพ์แบงค์จำนวนมาก , Fed ลดอัตราดอกเบี้ยลดติดศูนย์ เพิ่มเงินช่วยเหลือสภาพคล่อง แจกจ่ายเงินให้ประชาชน
-ประเด็น Depression คือ อดีตตลาดหุ้น ระบบเศรษฐกิขกลับ ฟื้นเหมือนเดิมอาจจะใช้เวลานาน 2-3 ปี (นานกว่า การถดถอย recession ปกติ)
- เกิดการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ การสร้างปรับตัว และการคิดค้นหา solution ใหม่ สุดท้ายจะผ่านไปได้ ในอดีตที่เรย์รวบรวมข้อมูล 500 ปีแม้เกิด Depression  แต่ใน long term ภาวะเศรษฐกิจผ่านวิกฤติไปได้
-ประเมินความเสียหาย $20 trillion ขาดทุน ธุรกิจที่ไม่มีเงินและไม่มีเครดิต  ไม่ได้รับความช่วยเหลือ ก็จะล้มละลาย
- วิกฤติ covid-19 ซับซ้อนหนักกว่าวิกฤติการเงินเช่น ซับไพร์ม 2008 ปัญหามากกว่าธนาคาร สถาบันการเงิน ปัญหาโยงไปทั่วโลก กระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและคนในสังคม กระทบทุกอุตสาหกรรม ตามด้วยข้อจำกัดเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจ, การด้อยประสิทธิภาพของพันธ์บัตรรัฐบาล Fed ต้องออกมาซื้อทั้งสินทรัพย์ ทางการเงิน, หนี้รัฐบาล หนี้เอกชน เพื่ออุ้มระบบเศรษฐกิจไว้




- บริษัทหรืออุตสาหกรรมอยู่รอด มี 2 ประเภท ได้แก่กลุ่มแรกบริษัทมีหนี้น้อย low tech ไม่ได้ทำการผลิตที่ซับซ้อน เช่นผลิต อาหารกระป๋อง ผลิตสิ้นค้าพื้นฐาน กลุ่มสองบริษัทที่มีนวตกรรม เทคโนโลยีที่สำคัญในอนาคต และไม่มีปัญหาหนี้ ปัญหางบดุล พวกนี้จะปรับตัว และผ่านวิกฤติสุดท้ายอนาคตฟื้นตัวได้
-พิธีกรถามว่า ตลาดหุ้น(market) ยุคใหม่รันด้วย algorithmic trading ทำให้ตลาดที่แตกต่างจากอดีต จะมีผลยังไงต่อเศรษฐกิจการฟื้นตัว เรย์ตอบ เทคโนโลยีเปลี่ยน ทำงานได้เร็ว ได้ดีมีประสิทธิภาพ ซับซ้อนขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ อันนี้เป็นสิ่งเกิดขึ้นจริง Bridgewater ก็ใช้เทคโนโลยีในการ leverage เพื่อให้เกิดความได้เปรียบ เขาเล่าการสร้าง algorithm ในการตัดสินใจการเทรดในสินทรัพย์ การแก้ปัญหาจาก principle ที่พัฒนา เหมือนกับคน เป็นหุ้นส่วนร่วมทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ ช่วยคิดช่วยตัดสินใจ
-สรุปหนีผลกระทบจากเทคโนโลยีไม่ได้ แน่นอนจะมีคนผิดพลาด เช่นการใช้ ML ในการพยากรณ์ตลาด การเอาชนะตลาดแบบนี้ Ray เชื่อว่ามันไม่เวิร์ค ไม่สามารถชนะตลาดระยะยาว
- Key การสร้าง algorithmic ไม่ว่าจะแบบเดิม(expert system) หรือสาย ML ต้องมีความเข้าใจ Cause & Effect relationship ต้องมีมุมมองความเข้าใจสิ่งที่เกิด ภาพใหญ่ในการตัดสินใจ(decession making) รู้ว่าเมื่อตัดสินใจ  ผลที่เกิด จะรับมือจัดการกับผลกระทบที่เกิดอย่างไร(risk management)
- ตลาดยากขึ้น ไม่มีทางที่จะได้ผลตอบแทนสูงง่าย Ray dalio แนะนำให้นักลงทุนต้องยอมรับความเสี่ยง และ รู้จักกระจายความเสี่ยง(Diversification) นักลงทุนพยายามวิ่งหา asset ที่ให้ผลตอบแทนดีในตอนนั้น เชื่อทุ่มลงทุนตาม แต่มันปัญหาและจุดบอด ที่จะทำให้ขาดทุน




- มุมมองของ Ray ยังไม่เปลี่ยนมอง cash สภาพคล่องดี ผันผวนน้อย แต่ buy power จะยิ่งแย่ลงลดลง จากการ ด้อยค่าของเงิน เงินเฟ้อ  เป็นต้น เขาเชื่อว่าการถือสินทรัพย์ต่างๆ เช่น gold, bond และอื่นๆ กระจายความเสี่ยงออกไป ดีกว่าการถือเงินสดอย่างเดียว
- กระจายความเสี่ยงให้ดี(diversify well ), อ่อนน้อมถ่อมตน(Be Humble), ไม่คาดเดาตลาด(don't market time) และ ตระหนักถึงความเสี่ยงแฝงของเงินสด
-การผ่านวิกฤติรอบนี้ได้ แต่การฟื้นฟูไม่ง่าย คนจำนวนมากต้องการช่วยเหลือ แต่เงินมีจำกัด เช่นเดียวกันจะมี ชาติที่ได้ผลกระทบแตกต่างไม่เท่ากัน ชาติฟื้นเร็วได้เปรียบจะขยายอำนาจ สร้างความได้เปรียบ สุดท้ายนำไปสู่ การแข่งขัน , เกิดการพึ่งพาตัวเองมากขึ้น แยกการพึ่งพาประเทศอื่น เพื่อความเป็นเอกภาพและการอยู่รอด เรย์ เชื่อว่าทุกชาติควรจะร่วมมือกัน ช่วยกันมากกว่าแบ่งแยก ยิ่งช่วยกันมาก ร่วมมือกันมากยิ่งผ่านวิกฤติ สถานการณ์นี้ไปได้ดี
- ปัญหาทำให้คนตระหนักจุดอ่อน ข้อบกพร่องของระบบทุนนิยม นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงให้ดีขึ้น  Reform ให้เกิดความเท่าเทียม สร้างให้เกิด Productive จากการปรับโครงสร้างระบบทุนนิยม ทำให้ระบบไม่ สนับสนุนแค่คนบางกลุ่ม คนที่มีอำนาจหรือเส้นสาย
- เขาเชื่อการผ่านวิกฤติไม่ว่าคนด้านบน ชั้นกลาง ด้านล่าง ทุกคนต่างมีบทบาทและทำประโยชน์ แน่นอนต้องร่วมกัน ผสานความร่วมมือเพื่อฟื้นฟู หรือผ่านวิกฤติไปด้วยกัน


สามารถเข้าฟังฉบับเต็มได้ที่
https://www.youtube.com/watch?v=yrxYhv2O3wU