ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เงินเฟ้อ(Inflation) กับ ตลาดหุ้น

เมื่อวานมีคนถามเกี่ยวกับผลกระทบของ inflation กับตลาดหุ้นมา ว่าจะออกมาแบบใดๆ จริงๆมีหลายความเห็นมากนะครับทั้งกูรูเศรษฐกิจและนักวิเคราะห์ มีการคาดการณ์เอาไว้ แต่ส่วนผมจากประสบการณ์ตรง ผมคิดว่าการคาดเดา inflation รายปีมันยากจะแม่นยำ จากที่ผมได้เก็บข้อมูลผลการออกมาทำนายของกูรูต่างๆไว้ ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะปัจจุบันหลัง subprime 2008 การกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางประเทศใหญ่ ทั้งด้านการทำ QE,การลดอัตราดอกเบี้ย,การทำให้ค่าเงินอ่อน และอื่นๆ ทำให้เกิดความไม่ปกติของระบบเศรษฐกิจที่ต่างไปจากอดีต ทำให้ยากมากที่จะทำนายให้แม่นยำ

อีกประการคือ ยุคอดีตเราจะเห็นการเพิ่มของ inflation ไป 2 หลัก(มากกว่า 10%) เกิดมาแล้ว,ลองดูในตารางข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐจะเห็นปี 1980 เงินเฟ้อระดับ 13% แต่ดัชนี S&P ปิดบวก 13.7% เงินทุนไหลเข้าไปพักในหุ้นบางกลุ่ม แต่ปีถัดมา 1981 ดัชนีปรับตัวลง -4.7% ถ้ามองจากความสัมพันธ์ของเงินเฟ้อและดัชนีตลาดหุ้น จะพบว่ามันผสมกันและไม่มีนัยยะ (เพราะแม้ช่วง 1940-1970 จะเป็นช่วง high inflation แต่หลังจาก 1950 ก็เป็นช่วง bull market รอบใหญ่เช่นกัน)ที่จะสรุปค่าความสัมพันธ์โดยตรง , แต่ลองมองแยกรายปี ก็จะพบว่าปัจจัยที่ทำให้แต่ละปีที่เงินเฟ้อสูง และมีผลกดดันดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐ ออกมาแตกต่างกันซึ่งมักจะมาจาก มาตรการของรัฐบาล และธนาคารกลาง ที่ออกมาแก้ปัญหาในช่วงนั้นๆ ตรงนี้ทำให้ต้องติดตามดูว่า เมื่อเกิดเงินเฟ้อสูง มาถึงจริงๆ ภาวะเศรษฐกิจ เช่นการจ้างงาน,GDP,ตัวเลขส่งออก เป็นต้น จะออกมาแบบไหน และธนาคารกลาง+รัฐบาลจะมีแผนรับมือกับภาวะเงินเฟ้อในช่วงนั้นอย่างไร ผ่านอัตราดอกเบี้ย,การควบคุมค่าเงิน, การควบคุมราคาน้ำมันและอาหาร เป็นต้น



ส่วนธุรกิจหรือหุ้นในตลาด แน่นอนว่าถ้ามองย้อนจากข้อมูลอดีตช่วง high inflation ไม่ใช่ทุกธุรกิจจะกระทบ, บางธุรกิจสามารถปรับราคาขายเพื่อรักษากำไรได้, บางธุรกิจเป็นสินค้าจำเป็นที่ยอดขายไม่ได้ลดลง, แต่ก็มีบางธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากราคา comodity หรือวัตถุดิบ ที่อาจจะปรับเพิ่มในภาวะ high inflation


ดังนั้นตอนนี้ก็คงต้องพยายาม ปกป้องพอร์ตโฟริโอ และมองหาสินทรัพย์ที่ช่วยด้านการสู้กับเงินเฟ้อไว้บ้าง แต่ไม่ควรรีบสรุปไปว่าตลาดหุ้นจะต้องกลายเป็นขาลง Bear market เสมอไป, ขณะเดียวกันต้องเลือกบาง asset เพราะปีนี้หลังวิกฤติ covid-19 หลายอย่างต่างจากอดีตช่วงก่อนปี 1943-1985 (ยุคนั้นเงินเฟ้อเป็นปัญหาใหญ่) โดยเฉพาะความกังวลเรื่อง Stagflation หรือภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและเงินเฟ้อสูง +ภาวะราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ที่อาจจะรุนแรงได้ถ้าการระบาด covid-19 ในหลายประเทศยังคุมไม่อยู่หรือเกิดระบาดใหม่ จนไม่สามารถเปิดเมือง เปิดประเทศได้ เช่นปกติ รวมถึงส่งผลกระทบต่อ global supply chain ด้วย , ปล. 1970-1975 ช่วงที่เคยเกิด Stagflation ในสหรัฐ inflation rate พุ่งไปจาก 5 ไปแตะ 11% ในระยะเวลา 5 ปี ผลกระทบใหญ่จากการราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นในรอบหลายปีจากการรวมกลุ่ม OPEC งดการส่งน้ำมันให้สหรัฐ(ช่วง1973) +เศรษฐกิจชะลอตัวและมีอัตราการว่างงานที่สูง อ้างอิงข้อมูลจาก https://awealthofcommonsense.com/2021/10/inflation-vs-stock-market
https://www.dw.com/en/why-are-germans-searching-for-stagflation-on-google/a-59501160 https://qz.com/2068772/why-economists-are-talking-about-stagflation/