ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

Diversification

อ่านบทความแนวนี้เยอะมากช่วงปีนี้ หลายที่พูดคล้ายกันว่าอนาคต การทำ Diversification อาจจะทำให้เกิด return ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการเทรด หรือการลงทุนในตลาดเดียว เพราะจากภาวะความผันผวนที่จะเข้ามา จากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ บทความนี่น่าสนใจเอามาแปะไว้ เรื่อง Diversification Works Whether You Want It To Or Not เขียนโดย Eric D. Nelson จาก ServoWealth นำเสนอข้อมูลผลตอบแทน asset class แบบจำแนกช่วงเวลาได้น่าสนใจ ลองมาคิดต่อ จากข้อมูลที่เขานำเสนอ มันก็จริงเพราะ ด้วยความยากของตลาดและ volatile ที่เกิด ประเภท trader hero หรือการใช้ skill อย่างเดียว เพื่อรีดเอากำไร อาจจะยากกว่าอดีตโดยเฉพาะสาย trend หรือ momentum ดังนั้นการปรับตัวคือ การเทรดแบบกระจาย ตาม fundflow เพราะการโยกเงินของเรา เข้าถูกตลาดที่มีเม็ดเงิน fundflow ไปลง มันสามารถสร้างกำไร ได้บนภาวะความเสี่ยงที่น้อยกว่า เช่นเดียวกัน ถ้าเงินเราไปอยู่ผิดที่ในตลาดที่ fundflow ออกหรือหมดความสนใจ ต่อให้ใช้กลยุทธ์ใช้เทคนิคขั้นสูงยังไง มันก็รีด กำไรออกมายาก แถมความเสี่ยงในการขาดทุนก็จะสูงด้วย http://www.servowealth.com/resources/articles/diversification-wor

Bad Opinions

ชอบ คำสอนนี้ของคุณเรย์มาก ถึงกับจดใส่สมุดโน๊ตไว้เตือนใจตัวเองเลย ทุกวันนี้ความคิดเห็นจากเซียน จากกูรู ผู้รู้ ผ่านสื่อหลัก ผ่านสื่อรอง หรือจากคนรอบข้างบนโซเชียลเน็ตเวิร์ค(Facebook, Line) มันเยอะมาก การฟังโดยไม่คิด ฟังบนจิตที่อ่อนไหว มันทำให้ ผิดพลาดและทำให้เกิดความเสียหายได้มากมาย จริงๆ ดังนั้นทำงานหนัก เรียนรู้มากๆ คิดเยอะๆ ทำให้ดีที่สุด แม้จะไม่ถูกทุกครั้งไม่ได้กำไรรวยทันใจแบบใครเขา แต่เราก็สามารถพัฒนาและยืนบนขาของตัวเองได้

Quant Model and Price behavior

ระบบเทรด ที่เน้นการสร้าง cash flow จากการเทรดบน volatility  นอกจากเราจะได้ความสามารถในการควบคุมขนาดของ risk ในรูปแบบฟังก์ชั่นของเวลา time ยังสามารถเอาผลของการเทรด หรือ trading record มาช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมราคา ต่อได้อีกด้วย (ผลจะพยายามอธิบายเรื่องยากให้เห็นภาพได้ง่ายที่สุด) สาย Quant โมเดลการเทรด ที่เน้นการเก็บข้อมูลการเทรดมากๆ มันยิ่งทำให้เทรดเดอร์หรือผู้พัฒนา เข้าใจพฤติกรรมราคาและพฤติกรรมของตลาดได้มากขึ้น มันแตกต่างจากการดูกราฟ ที่เน้นการมองไปที่ movement หรือ pattern อย่างเดียว เพราะการตีความจากการมองบางครั้ง มันไม่ได้สะท้อนภาวะการเปลี่ยนแปลง หรือความผันผวนจริงที่เกิดได้ รวมไปถึงมองไม่เห็น flow การเคลื่อนของเงิน ที่ตัวพลักดัน ราคา ยกตัวอย่างในภาพข้าง ผมตัดบางส่วนที่เปิดเผยได้ มาแสดงเพราะอยากประกอบการอธิบายว่าเวลาพัฒนา Quant Model หรือทำตัว algorithmic trading พวกนี้มันทำงาน มองราคา(Price) ต่างจากมนุษย์ Quant มองภาวะการเกิด ความถี่และการเปลี่ยนแปลง มันเป็นปัจจุบันและเป็น raw data ที่เกิด ภาพ  Heat map เราจะเห็น โซนราคา ที่เราสามารถเก็บ cash flow ได้มันจะสะท้อน frequency ที

Smart beta Portfolio

ทดลองพัฒนาโมเดล สร้างพอร์ตแบบ smart beta ขึ้นมาโดยเป้าหมายหลักคือยังใช้ความไม่สมบูรณ์ของตลาด บวกกับ volatile ที่เกิด มาสร้างให้เกิด cashflow เพื่อสร้าง balance curve ให้โตต่อเนื่อง ความท้าทายมันอยู่ตรงที่การบริหารเงิน คือทำยังไงให้เกิดความได้เปรียบ และจำกัดความเสี่ยงให้เหมาะสม ได้ดีที่สุด เพราะไม่เช่นนั้นความผันผวนของตลาด มันจะมาทำร้ายพอร์ตของเรา สิ่งแรกที่ทำคือ หาโมเดลคุมการบริหารเงินแบบเป็น Dynamic ที่แปรผันไปตามค่า volatility ของตลาด เรียกง่ายๆคือให้ leverage มันแปรผันไปตาม volatility ที่เกิด สิ่งที่สองคือ เพิ่มความแข็งแกร่งให้โมเดล โดยเอาระบบเทรดสองตัวมาทำงานร่วมกัน แนวคิดนี้ก็ง่ายๆ คือเราวิจัยระบบมามากพอ รู้ว่าอะไรคือจุดอ่อนของกลยุทธ์ประเภทต่างๆ ดังนั้น เราจับสองกลยุทธ์ที่มี จุดอ่อน จุดแข็งเสริมกันได้มาทำงานด้วยกันซะ อย่างในโมเดลนี้ ใช้ Scalping ร่วมกับ Trend Following โดยเอาสองกลยุทธ์มาแก้ชดเชย ข้อจำกัดกันและกัน บวกการหาประโยชน์จาก swap ของสินค้าและการอ่านแนวโน้มภาพใหญ่แบบ macro view เพื่อเกาะตามเทรนด์(core beta) แต่ข้อเสียคือเมื่อพยายามเทรด เล่นกับ volatile มันทำให้ กา

Alchemy of Finance

link นี่นะครับที่ผมพูดถึง เป็นหนังสือเสียง ของ The Alchemy of Finance ตำราที่ถ้าจะศึกษาแนวคิดของโซรอส ควรอ่าน  โซรอสได้อธิบาย แนวคิดเรื่องของ แนวทางการเทรดของเขาไว้ พูดเรื่องของ reflexivity ความบิดเบี้ยวของ perception และ Reality ที่เขานำทฤษฏีปรัชญาของ Popper มาประยุกต์ใช้กับตลาดหุ้น ตลาดค่าเงิน และระบบเศรษฐกิจ มียกตัวอย่างเรื่องของ economic และ debt cycle  ฟังเพลินๆ ยิ่งใครนอนไม่หลับ แนะนำเลย  https://www.youtube.com/watch?v=TI0V04dP4t8

Drawdown is your friend

วันนี้มีคนถามเรื่อง Drawdown ระบบ ว่าทำไมต้องไปสนใจมันมาก คำตอบคือ ถ้าเราไม่สนใจมัน ปล่อยให้มันไปของมันเรื่อยๆ มันจะทำให้คุมไม่อยู่รู้ตัวอีกที ก็เสี่ยงมาก จนอาจจะล้างพอร์ตได้  ดังนั้นการดูเรื่อยๆ มันช่วยเราคุมการโตของ equity curve ได้ดี ลดความผันผวนของพอร์ต แถมควบคุมจังหวะหนักเบาของการใช้เงินได้ด้วย ตรงนี้ไม่ใช่เรื่องของเทคนิคอล ไม่ใช่เรื่องของการลากเป้า ดูอินดิเคเตอร์ ดูรูปแบบแท่งเทียน มันเป็นเรื่องของการ บริหารเงิน และบริหารความเสี่ยง ที่จะทำให้เรา "อยู่รอดในตลาดเก็งกำไร" และเมื่อมีทักษะสร้างกำไรได้ต่อเนื่อง โอกาสโตอย่างยั่งยืนมันก็มี เทรดเดอร์ต่างชาติ หรือกองทุน เขาให้ความสำคัญเรื่องนี้มาก เพราะการเทรดไม่ใช่เรื่องของการเดา หรือทำนายอนาคตให้แม่นอย่างเดียว การควบคุมผลของการตัดสินใจและสิ่งที่เกิดตามมาต่างหากคือ Key ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว บนภาวะตลาดที่มีความไม่แน่นอนและผันผวนสูง ปิดท้ายเอาตัวอย่าง เกณฑ์การเทรดของ Fund หนึ่งมาให้ดู ผมมีโอกาสศึกษาโมเดลของ hedge fund นี่พบว่ามีหลายส่วนน่าสนใจ โดยเฉพาะกลยุทธ์การเทรด ที่มีเกณฑ์การคุมขนาดของ Drawdown ที่เกิดแบบเคร่

Under Pressure

เพิ่งจะมีโอกาสได้ดู Burnt เป็นหนังเกี่ยวกับพ่อครัวและการทำอาหาร ส่วนตัวเป็นคนชอบทำอาหารเลยไม่พลาดที่ดูเรื่องนี้  Burnt เป็นหนังที่ทำออกมาดีทีเดียว เนื้อเรื่องสนุก ภาพอาหารที่หน้าตาดูหน้ากินตกแต่งอย่างพิถีพิถัน อารมณ์การทำงานในครัวทำอาหารที่ดุดัน เข้มข้มราวกับสนามรบ รวมถึงบรรยากาศของหนังที่แฝงกลิ่นไออังกฤษได้อย่างลงตัว ส่วนตัวผมชอบประเด็นแฝงของเรื่อง Adam Jones เชฟที่รู้ว่าข้าอยากจะเป็นเชฟกระทะเหล็กตั้งแต่อายุ 16 เขาเก็บเงินจนได้ตัวเครื่องบิน อายุ 19 ก็ไปทำงานในครัวของร้านอาหารชื่อดังเพื่อฝึกงาน ทำทุกตำแหน่ง ทำอย่างตั้งใจ จนประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุน้อยกลายเป็นเชฟชื่อดังของปรารีส จุดพลิกมันคือพอไปถึงเป้าหมายแต่กลับรักษามันไว้ไม่ได้ ทุกอย่างต้องพังลงพินาจ  Adam ไม่ยอมแพ้ลุกมาอีกรอบ รอบนี้เขาต้องต่อสู้กับความคาดหวังของตัวเอง และความต้องการจะเป็นที่หนึ่งเพื่อคว้า three Michelin stars อุปสรรค์สำคัญที่เขาต้องเผชิญคือความคิดที่ว่าทุกอย่างต้องสมบูรณ์แบบ Perfectไปหมด ความยากและการเอาชนะตัวเองของ Adam คือความสนุกของหนังเรื่องนี้ ส่วนจะจบยังไงไม่สปอยแต่อยากให้ลองไปดู ผมดูเรื่องนี้จบ