ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

แจก Ebook ของขวัญปีใหม่ 2019

สวัสดีปีใหม่ 2019 ขอ อวยพรปีใหม่ให้กับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆทุกท่านที่ติดตาม ขอให้ทุกท่านมีความสุขและประสบความสำเร็จกับทุกเรื่องที่ปรารถนา ที่สำคัญขอให้มีพลังในการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองกันต่อไป ผมมีของกำนัลปีใหม่เป็นหนังสือ ebook ลำดับที่ 6 มามอบให้กับทุกท่าน โดยหนังสือเล่มนี้เขียนจากบันทึกเทรดเดอร์ประจำวันของผมในช่วงปีที่ผ่านมา ความยาวกว่า 490 หน้าอัดแน่นด้วย เรื่องราวสำคัญ สาระและความรู้ที่ได้พบตลอดปี ผมตั้งใจทำรวบรวมไว้ให้หวังว่าจะมีประโยชน์ ช่วยเพิ่มประสบการณ์และความรู้ ให้กับทุกท่านที่ติดตาม รวมถึงน้องๆมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มเข้ามาเป็นเทรดเดอร์ จะได้เห็นตลาดของจริงและสถานการณ์จริงที่เกิดในตลาดช่วงปีต่างๆที่ผ่านมา สามารถดาวน์โหลดได้จาก link ด้านล่าง ครับ https://goo.gl/8oj33a สำหรับสมาชิกใหม่สามารถดาวน์โหลดเอกสาร yearbook ปีก่อนหน้า( 2013-2017) https://github.com/chaipat-ncm/learn2trade/#ebook ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามกันมาหลายปี มาเรียนรู้ไปด้วยกัน แล้วเก่งไปด้วยกันครับ Mr.Chaipat

Volume footprint

เมื่อคืนได้ติวเทรดเดอร์ที่จะลงแข่งรายการปีหน้า 2019 ผมอธิบายการวิเคราะห์ volume นอกจากการดู volume profile แบบทั่วไปแล้ว อีกรูปแบบที่เราสามารถทำ volume analysis ในลักษณะการดู zone ราคาได้นั้นคือ การใช้ volume footprint โดยดูแรงปะทะและดูการเกิดของ volumeในระดับ zone ราคาต่างๆตามช่วงเวลาที่เราสนใจ การวิเคราะห์ลักษณะนี้ถ้าไม่ได้ส่งต่อไปทำ data analysis เช่นการจัด weight เพื่อ คำนวณร่วมกับข้อมูลอื่นๆ เพื่อวางแผนการเทรด หรือทำ money management เราก็สามารถใช้ดู market activity และ Depth of Market (DOM) ที่เกิดได้ โดยเฉพาะทิศทางการเดินของราคาสินทรัพย์ ทั้งในภาพใหญ่และภาพเล็ก รวมถึงการใช้ดูแนวรับ แนวต้าน หรือราคาที่มีนัยยะต่อการตัดสินใจของผู้เล่นในตลาด volume footprint จะแตกต่างการดู volume รายช่วงเวลา ทั่วไปตรง มีการแยกมิติของระดับราคาที่สะท้อนความถูกแพง , market discount และความผันผวนจากกรอบการเคลื่อนไหวของราคาที่เกิด ปล. ถ้าดูเรียลไทม์ในโปรแกรทรดบางตัวมีฟังก์ชั่นนี้ ถ้าไม่มีก็ต้องเขียนโปรแกรมเพื่อสร้างการจัดกลุ่มข้อมูล volume สำหรับการวิเคราะห์ footprint เอง

พฤติกรรมตลาดช่วงคริสต์มาส 2018

ภาพประกอบการอธิบายสรุปพฤติกรรมราคา fx ทีผมพูดถึงเมื่อคืนนะครับ โดยสรุปเหมือนได้กล่าวไป เดือนธันวาคม ปลายปี 2018 ภาวะความวิตกกังวลเข้ามาเต็มๆ บางกูรูเขาบอกว่าตลาดหุ้นสหรัฐ ยุโรป ญุี่ปุ่น เข้าภาวะตลาดหมีช่วงเริ่มต้นแล้ว (แต่ที่น่าสนใจคือ บางกูรู บางนวค. ยังไม่ได้เห็นตรงกัน มองว่า ผลประกอบการบริษัทเหล่านี้ยังดี แต่เนื่องจากราคาวิ่งสูงช่วง 2 ปี อาจจะเกิดแค่การปรับฐาน) สิ่งที่ชัดเจนอีกประการคือ ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจการเมืองสหรัฐ ประเด็น trade war พักเบรก, แต่สหรัฐมีประเด็นการ shutdown government ที่ร้อนมาล่าสุด เกิดจากขัดแย้งของสองขั่วการเมือง เรื่องงบประมาณสร้างกำแพงชายแดน , รวมถึงประเด็นการวิจารณ์ ลามไปถึงความคิดปลดประธานเฟด ของ โดนัล ทรัมป์ ปมไม่พอใจการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย พฤติกรรมราคาสินค้า ตอนนี้ สินทรัพย์ปลอดภัย เช่น JPY , GOLD, CHF ปรับบวกขึ้นรุนแรงในช่วง 1 เดือน โดยเฉพาะค่าเงิน JPY ที่แข็งค่า จนรัฐบาลญุี่ปุ่นออกมาแถลงความเชื่อมั่น พร้อมรับมือและติดตามความเคลื่อนไหวในตลาดเงินอย่างใกล้ชิด เฝ้าระวังว่ามีการเก็งกำไร จากภาพจะเห็น การเปลี่ยนแปลงรอบ week เทียบกับ 3 month ค่าเงิน

10 things I learned from "Cliff Asness" interview

- Cliff Asness วัย 52 ปี มหาเศรษฐีพันล้านเป็น ผู้บริหารของ AQR Capital มี AUM $226 billion เขาจบ Phd เป็นศิษย์เอกของ Eugene Fama โลดแล่นในตลาดกว่า 20 ปี - สัมภาษณ์ยาวมาก แบ่ง 3 ด้านหลักเรื่องของทิศทางตลา ด, กลยุทธ์ของ AQR และ Quant ในยุคปัจจุบัน -1.ปี 2018 ไม่ใช้ปีที่ดีของ Quant Strategies เมื่อเทียบกับ 3 ปีก่อนหน้า ภาวะตลาดมีคว ามผันผวน มีปัจจัยต่างๆกดดัน แต่ยังไม่ถึงกับเลวร้าย ต้องถอดใจ -2. Asness พูดถึง trend following ต่อจากความเห็นของ david harding ที่ระบุว่า winton ลดน้ำหนักในกลยุทธ์ Trendfollowing +ลดค่า free ในกองทุนที่รันด้วยกลยุทธ์น ี้เพราะมองว่าอนาคตอาจจะไม่ สามารถทำผลงานได้ดี Asness แสดงความเห็นว่า trend following อาจจะทำผลงานไม่ดีเหมือนยุค อดีต แต่เขายังเชื่อว่าการเคลื่อ นตัวของแนวโน้มยังมีอยู่ เปลี่ยนรูปไป reverse บ่อยขึ้นและมีความผันผวนมาก ขึ้น แต่การใช้กลยุทธ์ต้องระวัง -3. การ diversification เชิงกลยุทธ์ สร้าง return ผสมกลยุทธ์ประเภทอื่นๆ เช่น factor, value ,momentum ร่วมกับ trend following พิจารณา liquidity และ Volatility ของตลาด ร่วมการจัดการความเสี่ยง กำหนดขนาดของเงิ

Effect of raising interest rates

เมื่อวาน ได้มีโอกาสไปนั่งล้อมวงสนทนาออนไลน์กับพี่น้องนักลงทุนและเทรดเดอร์ ถึงผลกระทบที่เกิด ในปีหน้า ช่วงทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น ของไทยเริ่มปรับเบาๆ ส่วน Fed ล่าสุดก็ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 25 bps สู่ร้อยละ 2.25–2.50 ตามคาด ตามข่าวระบุปีหน้ามีแผนปรับขึ้น 2 ครั้ง คุยกันหลายเรื่องหลายประเด็น ผมเองนั่งฟังคนเก่งๆที่ทำการบ้านมาพูด ก็ได้มุมมองเยอะดี โดยเฉพาะผลกระทบต่อกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ อย่าง การเงิน ,ธนาคาร,อสังหา เป็นต้น ผมเองเมื่อวานเอาข้อมูล ที่อ่านเจอและสรุปเก็บไว้ไปแชร์ อันหนึ่งมาจาก economicshelp คิดว่ามีประโยชน์มาแปะไว้่หน้าเฟสอีกที อันนี้เป็น การวิเคราะห์ของ กูรูอเมริกา ข้อดีเขาแจกแจงด้านบวกด้านลบไว้ ให้เข้าใจง่าย ทำให้เราเห็นภาพได้ชัด รายละเอียด ลองไปแกะกันต่อเพิ่มเติม ส่วนน้องเทรดเดอร์คนหนึ่งถามทิ้งไว้ว่าตลาดหุ้นจะจบรอบเพราะ Fed หรือไม่ แนะนำลองอ่านบทความ fed-actually-trying-cause-stock-market-crash ของ zerohedge หัวข้อนี้ดูครับ ส่วนตัวผมคงไม่ขอเดาหรือทำนายอะไร เตรียมตัวไว้ให้พร้อมดีที่สุด https://www.economicshelp.org/macroeconomics/monetary-policy/effect-rai

Inverted Yield Curves Aren’t a Crystal Ball

ประเด็นกำลังพูดถึงกันเยอะ อีกหนึ่งหัวข้อตามสื่อและเว็บไซต์ต่างประเทศ เห็นจะเป็นเรื่องของ Inverted Yield Curves ที่เมื่อวันจันทร์ เกิดการมุดของเส้น yield curve ของ US 5-Year Bond ลงต่ำกว่า 2Y Bond เป็นครั้งแรกในรอบสิบปี นับจากปี 2007 ตามมาด้วยการปรับลงหนักของตลาดหุ้นสหรัฐ เมื่อวาน S&P500 -3.25% นักวิเคราะห์บอกว่ามาจากความกังวลจาก inverted yield curve. (อาจจะไม่เกี่ยวกันก็ได้) เหมือน กูรู /นวค. บางกลุ่มพ ยายามสื่อว่ามันคือลาง หรือสัญญาณบอกเหตุในอนาคต รวมถึงความคาดหวังเชิงลบที่จะเกิด บทความนี้ของ WSJ เขียนน่าสนใจดี โดยสรุปเขากล่าวว่า Inverted yield curves นั้นมันสามารถแกว่งได้ ปรับตัวได้ แต่มันไม่ใช่สาเหตุ ที่ทำให้เกิดการถดถอยทางเศรษฐกิจ ดังนั้นไม่จำเป็นว่าเมื่อเกิด Inverted yield curves จะต้องเกิดเศรษฐกิจถดถอยทุกครั้ง 100% เพราะyield curves นั้นไม่สามารถทำนายอนาคตเศรษฐกิจและตลาดหุ้นได้ (อันนี้นักวิชาการจาก Fed ออกมาอธิบายก่อนหน้าอย่างละเอียดแล้ว) บทความระบุว่าถ้าจะเกิด recessions จริงจะต้องมีปัจจัยสาเหตุอื่นๆ ประกอบ แต่ตอนนี้สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือเรื่องของ market assu

10 Outrageous Predictions for 2019

ทีมนักกลยุทธ์และนักวิเคราะห์เศรษฐกิจของ saxo bank ทำรายงานที่ชื่อ 10 Outrageous Predictions for 2019 แบบสุดโต่งสุดๆแบบไม่ธรรมดา(และมีโอกาสจะเกิดได้เช่นกัน) มี 10 ข้อ ดังนี้ 1.EU announces a debt jubilee ** ปัญหาหนี้ กระทบต่อสเถียรภาพเศรษฐกิจและการเมืองยูโร 2.Apple “secures funding” for Tesla at $520/share **ฝันที่เป็นจริงของ Elon Musk เมื่อ apple หันมาร่วมมือพัฒนาธุรกิจ self driving car โดยการเข้าซื้อกิจการ Tesla 3.Trump tells Powell “you’re fired” **ทรัมป์เหลืออดกันนโบายของ Fed 4.Prime Minister Corbyn sends GBPUSD to parity **Corbyn ผู้นำจากพรรคแรงงานฝ่ายค้านขึ้นมาเป็นนายก UK คนใหม่ นำนโยบายประชานิยมและ universal basic income มาใช้ประเทศถังแตกเป็นหนี้สูง GBPUSD ร่วงลงรุนแรงระดับ 1.00 5.Corporate credit crunch pushes Netflix into GE’s vortex **ระเบิดหนี้เอกชน หุ้นกู้ ที่ร่วงรุนแรงรุกลามสู่ราคาหุ้น กระทบ ETF และตลาดหุ้นสหรัฐ 6.Australian central bank launches QE on housing bust Down Under ** ตลาดอสังหาออสเตเรียเกิดฟองสบู่ระเบิด RBA ต้องทำ QE กู้วิกฤติ 7.Germany enters recession **

8 Silent Signs Stress Is Making You Sick

ว่ากันว่างานหนักไม่เคยฆ่าคน แต่ความเครียดจากการทำงานนี้ตัวการที่ทำให้ล้มป่วยจนตายได้ การเทรดอาจจะไม่ใช่งานหนัก แต่ไม่ว่าจะหุ้น อนุพันธ์ หรือค่าเงิน มันมีเรื่องความกดดัน มีเรื่องความคาดหวัง จากผลลัพธ์ โดยเฉพาะเมื่อเรา "ขาดทุน" แม้จะไม่ขายไม่ขาดทุนแต่เห็นพอร์ตแดงๆก็เครียดได้ การเป็นเทรดเดอร์ อีกด้านที่เราต้องคำนึงและให้ความสำคัญคือเรื่องของ "ความเครียด" ดังนั้นอย่าวัดระบบเทรดแค่ตัวเลข ลองพิจารณาดีๆว่าระบบเ ทรดที่เราใช้มันทำให้เรา เครียด เกินไป หรือไม่(อาจจะเกิดจากระดับความเสี่ยงที่สูง หรือภาวะความไม่แน่นอนต่างๆอันนี้พิจารณากันดีๆ) ถ้ามันเทรดแล้วเครียด ยิ่งเทรดยิ่งเครียดแบบนี้ไม่เหมาะ เราควรถอยหลังออกมาพิจารณาปัญหา และหาทางแก้ไขโดยด่วน พอดีวันนี้มีคนมาปรึกษาเรื่องความเครียดจากการเทรด ผมจึงนำบทความจาก reader digest มาฝากกันเป็น วิธีการสังเกตตัวเราว่ากำลังตกในภาวะเครียดหรือไม่ โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้สังเกตจาก 1. ตุ่มหรือผืนแดงตามตัว(break out hives) 2. น้ำหนักตัวขึ้นๆลงๆ(weight starts to fluctuate) 3. ปวดหัวบ่อยๆ(getting headaches) 4. ปวดท้อง รวนท้องบ่อยๆ อาก

คำแนะนำข้อควรระวังสำหรับ retirement portfolio

การปรับตัวของตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงแนวคิดการจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ช่วงนี้เริ่มออกมามาก จากคำเตือนของเหล่ากูรูชื่อดังต่างๆ สำหรับคนทั่วไปโดยเฉพาะท่านใกล้เกษียณอาจจะเริ่มตั้งคำถามว่า ถ้าเกิดวิกฤติจริงๆควรจะทำยังไง?? Craig Kirsner คนนี้เป็น Retirement planner ชื่อดังของอเมริกา ซึ่งเขาแนะนำให้ preserve & protect พอร์ต retirement โดยเขาให้รายละเอียดว่า 1.Don’t let long periods of market calm fool you. อย่าติดกับผลงานอดีต ระวังความคาดหวังว่าปีนี้ ปีหน้าจะต้องได้กำไรมากเหมือนปีก่อน ซึ่งความโลภและความคาดหวังนี้ทำให้ เกิดความประมาทและก้าวร้าวเสี่ยงเกินตัว เข้าไปลงทุนในหุ้นความเสี่ยงสูง สุดท้ายตลาดปรับตัวลงรุนแรง ทำให้มูลค่าพอร์ตลดลงหรือขาดทุนหนัก 2.Understand what rising interest rates might do. ทำความเข้าใจผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ทิศทางที่จะเกิดในอนาคตค่อนข้างแน่นอนตามนโยบายของ Fed เขาแนะนำให้เอาปัจจัยนี้มาใช้วางแผนการลงทุน ระมัดระวังวิกฤติหนี้ 3.Be aware that the aging population could cool the economy. สหรัฐเข้าภาวะคนแก่มากกว่าการเกิด เขายกตัวเลขมีคนเข้าสู่วัยเกษียณ 1000

7 things I learned from The Wealthy Barber

The Wealthy Barber เขียนโดยคุณ David Chilton (1989) เขาทำงานเป็นผู้วางแผนทางการเงิน ตั้งใจเขียนเป็นแบบนวนิยาย ที่สนุกและเข้าใจง่ายเพื่อให้เข้าถึงคนธรรมดาทั่วไป เนื้อหาครอบคลุมประเด็นหลัก ตั้งแต่การออมเงิน การใช้จ่ายเงิน การกู้เงินเพื่อทำธุรกิจ การลงทุน และการจัดการเงินหลังเกษียณ แบบไม่ BS ไม่ขายฝัน สอนให้คนเข้าใจในความเสี่ยงการสร้างความมั่นคั่งแบบค่อยเป็นค่อยไป ผมสรุปประเด็นสำคัญไว้ 7 ข้อดังต่อไปนี้ 1. หลักพื้นฐา นและวินัย การจะรวยได้ ไม่ใช่สิ่งที่เกิดข้ามคืน แต่ไม่ใช่เรื่องยาก หรือเป็นไปไม่ได้ มันเริ่มจากหลักพื้นฐานคือ การใช้เงินอย่างประหยัด อดออมและลงทุน แล้วอาศัยการวางแผน การลงมือทำอย่างตั้งใจ มีวินัย ต่อเนื่อง 2. กล้าแตกต่าง เพื่ออนาคต สิ่งที่ยากในการมีวินัยทางการเงิน การออม ปัจจัยหนึ่งเกิดจากเมื่อเราปฏิบัติ แต่คนอื่นๆรอบข้างทำแตกต่างจากเรา เช่นซื้อรถใหม่ ซื้อเสื้อผ้าหรู กินอาหารแพง เราก็เกิดกิเลส อยากได้ ใช้เงินเพื่อสนองความยาก ทำให้หมดเงินไปอย่างฟุ่มเฟือย แทนที่จะนำเงินไปออมกินดอกเบี้ยหรือไปใช้ลงทุนกินปันผลต่อยอด ดังนั้นต้องกล้าเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้เงิน กล้าแตกต่างจากคน

2018 ฺBad Year

ข้อมูลจาก Deutsche Bank แสดงให้เห็นว่าทำไม การเทรดหรือการลงทุนในสินทรัพย์เดียว มันจึงไม่ง่ายที่สร้างผลตอบแทนสะสมที่เติบโต ดูจากสถิติย้อนหลังตั้งแต่ 1990 โดยเฉพาะช่วง วิกฤติการเงิน 1-2 ปี มากกว่า 50% จาก asset class นั้นมีผลตอบแทนติดลบ(negative returns) ส่วนในปี 2018 ยังต้องลุ้นหนักในเดือนสุดท้าย ข้อมูลล่าสุดจะพบ 90% จาก asset class จำนวน 70 ชนิด ผลตอบแทนเป็น negative returns ที่น่าสนใจคือทั้ง stocks(major indexes ต่างลงมามากพอควรชวง 2 เดือนที่ผ่านมา) , Crude Oil, Gold แม้จ ะมีการเคลื่อนที่ที่ไม่สัมพันธ์กัน แต่ก็มีโอกาสที่จะเห็น การจบปีด้วย negative returns สูงเช่นกันในปี 2018 ขณะเดียวกันข้อมูลปี 2017 แสดงให้เห็นว่ามีแค่ 1% เท่านั้นที่มีผลตอบแทนติดลบ ดังนั้นเมือเทียบระหว่างปี 2017 กับปี 2018 ในด้านข้อมูลสถิติ จะทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยยะ ไม่ได้สรุปอะไรมากจาก บทความ นี้แต่ก็ใช้เป็นข้อมูลประกอบในการติดตามตลาดต่อไป ปล. asset ผลตอบแทนรายปีติดลบ ไม่ได้แปลว่าเทรดแล้วจะต้องขาดทุนเสมอไป ถ้าไม่ได้ Buy & Hold ยาว https://www.marketwatch.com/story/how-bad-has-201

รีวิว Saving Capitalism

หลายปีที่ผ่านมาได้เห็นการตั้งคำถามว่าระบบทุนนิยม(Capitalism) มันยังทำงานได้ดีในระบบสังคมปัจจุบันอีกหรือไม่?ถี่ขึ้น ซึ่งคำถามนี้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของสารคดี เรื่อง Saving Capitalism ที่ออกเผยแพร่ในปี 2017 โดยเป็นสารคดีที่เล่าเรื่องผ่านคุณ Robert Reich อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยุครัฐบาล บิล คลินตัน ( 1993 -1997)และเป็นอาจารย์ รวมถึงเป็นนักวิเคราะห์ นักวิจารณ์ทางการเมืองชื่อดัง คุณ Reich ได้ออกหนังสือเรื่อง Saving Capitalism ซึ่งกล ายเป็นหนังสือยอดนิยม ทำให้เขาได้ออกเดินสายโปรโมทและจัดกิจกรรม รับฟังความคิดเห็นของคนในหลายรัฐของอเมริกา รวมถึงคนในทุกระดับ ตั้งแต่ชั้นแรงงาน ชั้นกลาง นักศึกษาคนรุ่นใหม่ นักธุรกิจ และนักล๊อบบี้ยิสทางการเมือง สารคดีนี้ เดินเรื่องเร็วสนุก สะท้อนให้เห็นปัญหาช่องว่างรายได้ของคนจนและคนรวย โดยสรุป คุณ Reich เชื่อว่าระบบทุนนิยมอเมริกากำลังมีปัญหา เมื่อคนจน คนชั้นกลาง ทำงานรายได้ไม่ได้เติบโต ตามรายจ่าย ค่าครองชีพ ขณะเดียวกัน คนรวยนักธุรกิจ รวยเอา รวยเอา รายได้การเติบโตเศรษฐกิจ วิ่งเข้ากระเป๋าคนรวย ผ่านช่องทางต่างๆ การใช้เส้นสายหาผลประโยชน์ จากนโยบายของรัฐ

Ray Dalio Sees Parallels to 1930s in Today’s Markets

บลูมเบริ์กลงบทสัมภาษณ์ของคุณ Ray dalio โดย Barry Ritholtz มีหลายประเด็นน่าสนใจ สรุปเบื้องต้นเก็บไว้ดังนี้ - debt cycle ในปัจจุบันคล้ายปี 1930 (late stages of this short-term business cycle) - ตัวเลขหนี้จำนวนมหาศาลทำให้เผชิญปัญหา กรณีอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น - อนาคต USD ลดทอนบทบาท(เงินสกุลอื่นจะขึ้นมามีบทบาทแทน แต่ ray ไม่ระบุรายละเอียด)และอาจจะด้อยค่าจากภาวะหนี้ -การสร้างหนี้ในอนาคตของรัฐบาลสหรัฐ จะยากขึ้น มีต้นทุนสูงขึ้นต้องเพิ่มผลตอบแทนเพื่อมาจูงใจเจ้าหนี้ต่างชาติ - Low interest rates ตัวเร่งทำให้เกิดภาวะ leveraged long กระแสเงินทำให้เกิดการเพิ่มกำลังซื้อในตลาดหุ้น ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำจุดสูงสุดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งภาวะนี้ไม่คงอยู่ตลอดไป  -ray แนะนำนักลงทุนเตรียมแผนรับมือ ลดความคาดหวังผลตอบแทนที่สูงเหมือนอดีต รวมบริหารความเสี่ยง balance portfolios [all weather strategies + risk parity] -เมื่อเกิดปัญหาเศรษฐกิจรอบใหม่ จะนำมาซึ่งปัญหาการเมืองต่อเนื่อง สาเหตุจากความไม่เท่าเทียมกันระหว่างคนจนและคนรวย ก่อเกิดระบอบประชานิยม การต่อสู้ของคนสองกลุ่มในสังคมที่รุนแรง

Work Smart &Time Management

วันนี้ได้ฟัง podcast ของ Tim Ferriss เขาพูดถึง Work-Life Balance ได้น่าสนใจมาก เขากล่าวว่า การสมดุล"งานกับชีวิต" เป็นปัญหาที่ทุกคนต้องเผชิญ แนวคิดการ work hard มันอาจจะไม่ได้ใช้ได้เสมอไปกับทุกคน โดยเฉพาะ คนที่มีครอบครัวในวัย 30 ขึ้นไป เพราะการมีเวลาจำกัด มีภาระในชีวิตที่มากกว่าตัวคนเดียว "เวลา" กลายเป็นสิ่งที่มีค่ามาก การไปทุ่มให้ทั้งหมดกับ งานที่ทำ มันจึงไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด ยังไม่นับรวมปัญหาสุขภาพที่เกิด จากความเครียดและการทำงา นหนัก Tim ยกตัวอย่าง CEO หลายคนที่ประสบความสำเร็จ คนเหล่านี้ใส่หมวกหลายใบ ทำทั้งงานจนสำเร็จและมีเวลาดูแลครอบครัว รวมถึงทำกิจกรรมอื่นๆเพื่อสังคมอีก โดยสรุปเขาแนะนำให้หาแนวทาง Work-Life Balance ที่เฉพาะแต่ละคน โดยเราต้องมีเป้าหมาย มีแผนชีวิตและที่สำคัญ ไม่จำเป็นต้องแบ่งแบบ 50-50 หรือคงที่เสมอไป อาจจะแปรผันตามช่วงเวลาอายุ เช่น วัย 30 วัย 40 แผนเปลี่ยนได้ ตามสถานะการณ์ แต่สิ่งสำคัญคือต้องคิดและวางแผน ด้านการทำงานเขาแนะนำ Work Smart แทน Work Hard รู้จักบริหารจัดการเวลา อย่างมีประสิทธิภาพ บวกกับการสร้างวินัย บังคับตัวเราให้โฟกัสในแผน

วิธีรับมือกับ overthinking

ภาวะตลาดหุ้น ตลาดอนุพันธ์ ช่วงนี้ถือว่าเทรดไม่ง่ายทั้งด้วยพฤติกรรมของราคา และประเด็น sentimental ความไม่ชัดเจนของอนาคตในหลายประเด็น รวมถึงปัจจัยเสี่ยงระดับโลก เวลาเกิดภาวะแบบนี้ส่งผลกระทบต่อการเทรด โดยเฉพาะเรื่องการตัดสินใจ อาจจะไม่ flow เหมือนช่วงตลาดปกติ ยิ่งตลาดผันผวนมาก เกิดความกลัวที่จะผิดพลาด ความสับสนและการลังเลยิ่งมีมาก ทำให้คิดฟุ่งซ่านแบบ overthinking ซ้ำไปซ้ำมาไม่กล้าตัดสินใจ ตามมาด้วยปัญหาการเทรด "ค่อมรอบ" หรือ "ผิดจังหวะ" วันนี้ผมมีแนวทางการฝึกสมองช่วยทำให้เราหย ุด overthinking เพื่อเพิมประสิทธิภาพการตัดสินใจมาแนะนำ 1. เขียน สิ่งที่คิดในหัว การคิดวนไปวนมา จากความสับสนความไม่มั่นใจ ทำให้เกิดความเครียด จากความไม่ชัดเจน สิ่งแรกที่ควรทำคือ เขียน สิ่งที่อยู่ในหัวเราลงในกระดาษ เพื่อลำดับภาพความคิดและปัญหาต่างๆลงไป ตรงนี้ถ้าเราเห็นสิ่งที่เราคิดมันวนซ้ำ หาทางจบไม่เจอ มันจะเป็นสัญญาเตือนว่ากำลัง overthinking 2. โฟกัสไปที่เป้าหมาย การตัดสินใจบนภาวะความไม่แน่นอน บางทีเราไม่สามารถทำให้ได้ result ออกมาแบบ perfect ที่สุดอย่างสมบูรณ์ 100% ดังนั้นต้องมีเป้าหมา