ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

Book Review: The quants

 พอดีช่วงนี้กำลังอ่านหนังสือเรื่อง "The Quants: How a New Breed of Math Whizzes Conquered Wall Street and Nearly Destroyed It" ของ Scott Patterson น่าสนใจเลยนำมาแนะนำต่อ เรื่องราวเกี่ยวกับ quantitative analysis ที่ถูกนำมาใช้ในการเก็งกำไรในตลาดหุ้น wall street เขียนโดย คุณ Scott Patterson ในหนังสือ คุณ Scott Patterson ซึ่งเป็นนักข่าวสายการเงินที่คร่ำหวอด ได้สัมภาษณ์คนดังที่ประสบความสำเร็จสาย Quant หลายคนทั้งทีเป็น Developer , Trader และเป็นผู้จัดการกองทุน hedge fund ต่างๆ  ได้แก่ Jim Simons จาก Renaissance Technologies (ไม่ได้สัมภาษณ์โดยตรงแต่เก็บข้อมูลและสักถามผ่านผู้ร่วมงาน), Ken Griffin จาก Citadel Investment Group, Cliff Asness จาก AQR Capital, Peter Muller จาก Morgan Stanley's PDT (process driven trading) hedge fund, and Boaz Weinstein จาก Saba Capital (previously at Deutsche Bank) แต่ละคนชื่อชั้นระดับตำนานของวงการ คนเหล่านี้แตกต่างจากนักลงทุนในวอลสตรีท ยุคนั้นตรง เป็นนักลงทุนแนวเก็งกำไร ที่ทำกำไรได้หลายพันล้าน จากความไม่เป็นเห็นเป็นผลของราคาหุ้น ที่เกิดในระยะสั้น ระย

ข่าวพ่อรวยมีปัญหา

  อ่านข่าวการยื่นล้มละลายกับศาลของบริษัท Rich Global ซึ่ง Robert Kiyosaki ผู้เขียน เจ้าของต้นตำรับ ตำนานหนังสือขายดีแบบ Rich Dad, Poor Dad เป็นเจ้าของเนื่องจากหนี้ จำนวน $24 million ที่ไม่สามารถชำระให้กับบริษัท Learning Annex บริษัทของ Bill Zanker. เล่นเอาแฟนหนังสือที่อยากเป็นแบบพ่อรวยต่างงง ไปตามๆกัน บริษัท Learning Annex เป็นบริษัทที่ช่วยและอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ Kiyosaki ตั้งแต่การโปรโมทประชาสัมพันธ์หนังสือ จัดกิจกรรม ทอค์โชว์ การออกสื่อ รวมถึงการดำเนินการอบรมและจัดสัมนาด้วย แต่เหมือนจะเป็นเกมส์ทางธุรกิจเพราะ ทาง Mike Sullivan, CEO ของ Kiyosaki's Rich Dad Co., ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า Robert Kiyosaki มีส่วนรับผิดชอบเพียงไม่กี่ล้านเหรียญในบริษัท Rich Global ที่ยื่นล้มละลาย ทาง Robert Kiyosaki ยังคงไม่ตกยาก ยังมีทรัพย์สินอื่นๆเหลืออยู่ และบริษัทอื่นๆที่เขาเป็นเจ้าของก็ยังดำเนินการต่อได้ไม่มีปัญหาทางการเงินแต่อย่างใด แถมยังมีรายงานจากหนังสือพิมพ์บางฉบับวิเคราะห์ว่าแท้จริงปัญหาการยื่นล้มละลายครั้งนี้ อาจจะเกิดจากการที่ Kiyosaki ไม่ต้องการจ่ายส่วนแบ่งและค่าดำเนินการประชาสัมพันธ์กับบร

Gold@11-10-2012

  บันทึกสภาวะตลาดทองคำ แนวโน้ม และรูปแบบราคา ประจำวันที่ 11-10-2012 บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อ ใช้ในการศึกษาวิจัย Gold Trading System Project ไม่มีเจตนาชี้นำ หรือคาดเดาราคาในอนาคตแต่อย่างไร  market sentiment  สัปดาห์นี้เมืองไทยยังต้องลุ้นเรื่อง 3G กันอีกรอบ ไม่รู้ว่าจะเสร็จทันได้ใช้เมื่อไหร่ ทุกฝ่ายต่างมีเหตุผลหาเหตุผลมาประชันกัน เรื่องแบบนี้ก็ต้องรอกันไป ไม่แน่เราอาจจะได้ประมูลกันอีกทีตอน 5G ก็เป็นได้  เรื่องที่ร้อนแรงไม่แพ้กันคือปัญหาหนี้สเปน ที่หลายฝ่ายก็ลุ้นการที่สเปนจะ bailout แม้ว่าจะมีการเตรียมนโยบายและแผนงบประมาณใหม่แบบรัดเข็มขัดเพื่อให้เข้าเงื่อนไขมาแล้ว แต่รัฐบาลสเปนก็ยังไม่ได้ประกาศท่าทีชัดเจน แน่นอนว่าน่าจะมาแรงกดดันการเมืองภายในที่ประชาชนออกมาประท้วงกันมากมาย เหลียวไปมองใกล้บ้านแบบ กรีซตอนนี้ก็เละเทะไปใหม่ รัฐขาดสภาพคล่อง ในขณะที่ต้องการกู้เงินเพิ่มมาใช้จ่าย แต่ตัวเองก็ไม่สามารถลดหนี้ต่อ GDP ได้เพราะงบประมาณรายจ่ายประจำที่สูง จากนโยบายประชานิยมก่อนหน้า ทำเอายังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือรอบใหม่ การตกลงกับ ทรอยก้า ก็ยังไม่เป็นผล ขณะที่ถ้ารัฐบาลยอมจะต้องรัดเข็มขัด ตัดลดสวัสดิการณ์ปร

ZigZag

ZigZag เป็นเครื่องมือดัชนีราคาประเภทที่นิยมนำมากรองหาการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของราคา โดยเฉพาะการดูจุดกลับตัวหรือจุดย่อตัวที่อาจจะมีนัยยะสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม zigzag เป็นเครื่องมือที่พัฒนาจากโมเดลคณิตศาสตร์ไม่ซับซ้อน การใช้งานดัชนีตัวนี้อาจจะไม่ใช่พระเอกที่สามารถนำมากำหนดสัญญาณซื้่อขายได้เพียวๆตัวเดียว แต่ zigzag ก็สามารถรับบทเป็นพระรองตัวประกอบที่มีคุณค่าได้ดีทีเดียว ZigZag เป็นเครื่องมือดัชนีราคาแบบ lagging เน้นไปที่การตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงข้อมูลแน่นอนว่าเมื่อจะได้ค่ามานั้น ราคาย่อมต้อง action ไปก่อน ดังนั้น ZigZag จึงเหมาะที่เป็นตัวกรอง โดยหลักการทำงานของ ZigZag คือการตั้งค่า %change ของการเปลี่ยนแปลง  price movement ไว้ โดยค่าที่นิยมเช่น 3% 5% 8% 10% 15% เป็นต้น  โดยเมื่อราคาเคลื่อนที่เกิน % ที่ตั้งไว้โปรแกรมก็จะทำการสร้าง leg ของ Zigzag เพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แต่เนื่องจาก zigzag เน้นไปที่การติดตามการเปลี่ยนแปลง นั้นหมายความว่า ปลาย leg ของ zigzag ไม่ใช่เส้นแสดงทิศทางที่แน่นอน เพราะถ้าราคาเปลี่ยนแปลงถึงระดับที่ตั้ง leg ก็จะสามารถกลับทิศได้ทันที  ยกตัวอย่างเช่น

Archie Karas บทเรียนแห่งความผิดพลาด

เมื่อวานผมได้อ่านบทความเรื่อง ปริศนาเรื่องของโคตรเซียนตัวจริง ของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ได้เอ่ยถึงชื่อเซียนโป๊กเกอร์มืออาชีพ Archie Karas ทำให้ผมติดใจอยากนำเอาเรื่องราวของเขามาเขียนให้ได้อ่านกัน แต่ก่อนอื่นอย่าเพิ่งตกใจที่ผมเอาเรื่องของ นักพนันมาเล่า เชื่อว่าหลายคนคงมีคำถามในใจว่า หุ้น มันเกี่ยวกับการพนันตรงไหน??? แท้จริงสาระที่ผมจะสื่อคือ ความประมาทและความโลภ ที่สามารถนำมาเป็นบทเรียนให้เรา โดยเฉพาะนักเก็งกำไร หรือ เทรดเดอร์ เรื่องของ Archie Karas สามารถสอนเราได้เป็นอย่างดี Archie Karas นั้นไม่ใช่นักพนันแบบที่เราจินตนาการภาพ เขาเป็น นักพนันมืออาชีพที่ทำเงินได้หลายร้อยล้านเหรียญ หาเลี้ยงชีพจากการเล่นพนัน พวกนี้ต่างจากนักพนันบ้านเราที่เล่นบ่อนผิดกฏหมายหรือไปเล่นตามบ่อนเขมร ตรงที่เขาเป็นมืออาชีพ มีเทคนิค มีกลยุทธในการเล่น ที่สำคัญพวกนี้มีการแข่งขันจัดอันดับโลก ดังนั้นการเล่นพนันพวกนี้ ไม่ใช่ดวงแต่ใช้กลยุทธกลวิธี Archie Karas เป็นนักพนันอาชีพโดยเฉพาะฝีมือ โป๊กเกอร์ของเขานั้นไม่ธรรมดา เป็นมือวางอันดับ 1 ใน 5 ของ WSOP(World Series of Poker) ล่าสุดปี 2009 เขาได้อันดับที่ 5 และเป็นเซียนโป๊กเกอร

Andrews Pitchfork

Andrews Pitchfork เป็นเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์แนะโน้มราคาหุ้น เพื่อดู Price movement ที่นิยมอีกตัวหนึ่ง ในรูปแบบ median line ซึ่งถูกพัฒนาโดย Dr. Alan Andrew มีประโยชน์มากในการเล็งแนวโน้มและการเคลื่อนตัวของราคาผ่านแนวรับแนวต้าน วันนี้ผมจะนำเอาเทคนิคการใช้งานเครื่องมือตัวนี้มาแนะนำกัน แนวคิดหลักของเครื่องมือนี้คือการมองว่า ทิศทางราคา 80% ย่อมแสดงถึงแนวโน้มที่ชัดเจนแบบมีนัยยะสำคัญอันเกิดจากพลังของแรงซื้อแรงขาย ในตลาด และ 20% อาจจะเกิดการแกว่งตัว การย่อตัวตามสภาวะและอารมณ์ ในช่วงต่างๆ ดังนั้น Andrew จึงสร้างเครื่องมือที่ใช้ค่าทางสถิติมาประมวลหาเส้น median line ซึ่งเป็นเส้นตัวแทนการแกว่งตัวและการเคลื่อนตัวของแนวโน้ม และยังสร้างเส้นกรอบแนวรับแนวต้าน(Support&Resistance Trend line) จากการประมาณค่าแบบ linear regression จากเส้น median line เพื่อใช้เป็นแนวสังเกตสำหรับการเคลื่อนที่ของราคาในแต่ละช่วง โดยเฉพาะการเฝ้าระวังการออกนอกกรอบของแนวโน้ม อันจะเป็นสัญญาญของการกลับตัวหรือเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม การใช้งาน Andrews Pitchfork tools ก็ไม่ยาก เราหาแนวโน้มของราคาให้เจอ (นิยามแนวโน้มใหญ่ว่า ขึ้นหรือล

ความไม่แน่นอนของชีวิต

เช้านี้ผมฟังรายการวิทยุรายการหนึ่ง คุณดีเจพูดประเด็นเกี่ยวกับการใช้ชีวิตได้อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะประเด็นเป้าหมายในชีวิต เพราะชีวิตคนเรานั้นไม่แน่นอน ไม่มีใครรู้ว่าเราจะตายเมื่อไหร่ การมีความสุขและใช้ทุกนาทีที่มีอยู่ให้คุ้มค่าย่อมเป็นเรื่องที่ดี ดีเจคนนี้ยกตัวอย่าง ญาติของเขาที่กำลังป่วยหนักเป็นมะเร็งระยะที่สาม จากที่เคยเป็นนักธุรกิจ ผู้บริหารไฟแรง มีเงินเดือนหลักแสน ตอนนี้ร่ายกายอ่อนแอ สูบผอมจากการทำเคมีบำบัด ต้องสู้กับความตายและความทรมานแทบทุกวัน จนหลายครั้งคิดยอมแพ้ แต่เธอก็ยังสู้เพื่อใช้ชีวิตอยู่กับสามีที่คอยดูแลและลูกที่เธอรักๆ  เรื่องที่ดีเจ เล่ามาดูเหมือนจะเป็นเรื่องจริงปกติที่มนุษย์ทั่วโลกก็ต้องเจอ มันเป็นสัจธรรมของชีวิต เรื่องของความไม่แน่นอน ฟังเรื่องนี้แล้วทำให้ผมนึกถึงซีรีย์เรื่องโปรดเรื่องหนึ่งที่มีโอกาสดูตอน ติดเกาะเนื่องจากน้ำท่วมปีที่แล้วนั้นคือ เรื่อง "The BIGC" ซีรีย์ละครฝรั่งที่ไม่ใช่ละครน้ำเน่า เอาบันเทิงแบบละครหลังข่าวไทย  เพราะตัวเอกของ The Big C คือ Cathy Jamison  คุณครูวัย 42 ปี ผู้ที่ใช้ชีวิตน่าเบื่้อ เจ้าระเบียบ ทุกอย่างต้องสมบูรณ์แบบ มีครอบครัวและมีห