ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

เรียนหุ้นจากหนัง: Life Without Principle

ว่ากันว่าความโลภ เป็นเหมือนพลังวิเศษที่สามารถนำคนเรามาพบกัน Life Without Principle เป็นหนังฮ่องกงที่ใช้แนวคิดเรื่องความโลภและการกระหายเงิน มาดำเนินเรื่องผูกโยงเอาตัวละครต่างๆที่ไม่เกี่ยวข้องกันมาโยงไว้ด้วยกัน หนังเรื่องนี้เป็นหนังสไตล์ฮ่องกงโดยแท้ มีทั้งนักเลง ตำรวจ ความรัก การทรยศหักหลังและหุ้น ดำเนินเรื่องแบบหลายช่วงเวลาบนสถานการณ์เดียวกัน เพื่อแสดงให้เห็นพฤติกรรมของตัวละครที่มีต่อความโลภและเงินตรา ในเรื่องราวที่แตกต่างกันไป Life Without Principle "เกมคน กลเงื่อนเงิน" เป็นเรื่องราวในช่วงปี 2554 นำเอาเรื่องของวิกฤตหนี้สินกรีซและความกังวลเรื่องวิกฤติการเงินในยุโรปมาเป็นตัวเดินเรื่อง ผสานกับความโลภและความอยากของตัวละคร ที่มีการกระทำเพื่อให้ได้เงินมาในรูปแบบที่แตกต่างกันไป โดยตัวละครแรกคือ พนักงานบริษัทหลักทรัพย์สาว (เดนีส โห) ที่ถูกกดดันจากหัวหน้าให้ขายหน่วยลงทุนที่ลงทุนในประเทศ BRIC ให้ได้ตามยอด ด้วยความกดดันทำให้เธอต้องพยายามหาลูกค้ามากมาย  Teresa  พนักงานบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งความต้องการจะขายหน่วยลงทุนในยามเศรษฐกิจไม่แน่นอน ทำให้เธอต้องยอมหรอก

เทรดเดอร์อาชีพ

การเป็นเทรดเดอร์อาชีพ มันไม่เกี่ยวกับกำไร/ขาดทุนอย่างเดียว แต่คนจำนวนไม่น้อย ยังไปเข้าใจว่า มันคือเรื่องสำคัญ ทำให้ยังติดกับการจะเป็นผู้ชนะทุกครั้ง แล้วยังชอบนำมาอวด มาแข่งขันกัน ทำให้คนที่ไม่มีไม่ได้อิจฉากันไปอีก แต่จากที่ผมเห็นกำไรไม้เยอะๆเร็วๆที่มาโชว์ มันเป็นกำไรที่ไม่ได้มาจากความต่อเนื่อง มันมาจากภาวะตลาด มาจากปัจจัยเสริมอื่นๆเสมอ สำหรับผมกำไรแบบนั้นผมเรียกว่า "โชคดี" คนเป็น full time trader หรือเทรดเป็นอาชีพ เราไม่สามารถเอาผลตอบแทนไป ผูกกับภาวะตลาดหรือโชคได้เลย ไม่ใช่ตลาดแย่ ก็ไม่มีกำไร ตลาดดี กำไรมากมายมีเงินเยอะ เพราะถ้าเทรดเป็นอาชีพ ตลาดแย่ ตลาดเลวร้ายแค่ไหน ตัวเราก็ต้องกิน ลูกเมีย ครอบครัวก็ต้องกินต้องใช้เพื่อดำรงชีพ ดังนั้น การพัฒนาทักษะ(การตัดสินใจ)+ พัฒนาระบบเทรด มันต้อง มีความแข็งแรงแข็งแกร่งมาก(เป็นที่มาที่ว่าทำไมงานของเทรดเดอร์อาชีพจึงไม่ง่ายไง เพราะต้องฝึกฝนต้องเรียนรู้และพัฒนาตัวเองตลอด) และไม่ขึ้นกับสภาวะตลาด และไม่ขึ้นกับโชคชะตา จุดบอดของเทรดเดอร์ คือการ เอาจิต ไปผูกติด กับผลกำไรขาดทุน เพราะเมื่อจิต คุณติดกับตรงนั้น ในภาวะที่เกิดความไม่ปกติ เ

New global debt crisis

ช่วงนี้เห็นมีแต่คนพูดว่า เศรษฐกิจจะแย่ บ้างก็มีคำว่าฟองสบู่ออกมาแล้ว (อสังหาบ้าง ,กลุ่ม IT ของอเมริกาบ้าง) ยังไม่นับประเด็นลบต่างๆก็ว่ากันไป  ผมเองเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในตลาด สิ่งที่ทำไม่ได้ไปเต้นตามความคิดเห็นพวกนี้เท่าไหร่ แต่รับฟังข้อมูล มากกว่าข้อคิดเห็น คล้ายกับที่ผมฟังเหตุผลของกูรูที่ออกมาเดาตลาดหุ้นจะไป 1700 1800 2000 จุดตอนต้นปีนั้นแหละ คือใครว่าอะไรมา ผมฟังหมด จะฝ่ายเชียร์ หรือฝ่ายแช่ง แต่ผมไม่เชื่อกูรูหรือเซียนคนไหนสักคน ผมจะเชื่อในการคิดการวิเคราะห์ของตัวเองมากกว่า แม้จะผิดจะถูกก็ไม่เป็นไรเพราะเราได้ลงมือทำด้วยตัวเอง(ผิดก็ได้เรียนรู้) พอพูดเรื่องเศรษฐกิจไม่ดี พูดเรื่องปัญหาการเงิน เลยขอเอาตัวอย่างบทความน่าสนใจของ economist มาให้พวกเราดูกัน เขาเขียนเรื่องของ new global debt crisis โดยยกงานวิจัยเรื่อง  resilience indicator ของคุณ Rojas-Suarez ซึ่งทำวิจัยเก็บข้อมูลเทียบตั้งมาต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการเงินปี 2008 paper นี้เป็นตัว Update ข้อมูลล่าสุดปี 2014 ดังภาพ ลองเทียบกันดูว่าประเทศไหนดีขึ้นหรือแย่ลงเพียงใด โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเกิดใหม่ ที่หลังซับ

Historical Volatility

เอามาโน๊ตไว้ให้ดูนะครับเห็นน้องบางคนรีเควส อยากอ่านเรื่องยากๆ ผมชอบเขียนบทความ สอนเรื่องที่มันเข้าใจง่าย ไม่ต้องชะโงกคอ อ่านหรือตีความหลายตลบ เลยพยายามไม่เขียนอะไร ซับซ้อนเต็มไปด้วยสมการ กราฟ ตาราง อะไรแบบนั้น  ผมตอบคำถามเรื่อง volatility เยอะมาก พอเอา paper ให้อ่านก็เงียบกันไป แล้วก็มีมาถามใหม่ อยากเรียนรู้ลองศึกษาดูครับ เขียนสรุปเอาไว้ให้เลย จบ ตัวอย่าง ในการคำนวณ Historical Volatility ทำไว้แบบ step by step เลย คราวหน้าใครถาม จะได้ไม่ต้องมาอธิบายซ้ำ ในบ้านเราไม่มีโปรแกรม หาให้ ผมเองเทรด หรือทำระบบ ก็เขียนโปรแกรมคำนวณเอง ดังนั้น มันทำให้ผมต้องลงไปทำความเข้าใจในระดับ สมการ  มันช่วยอธิบายให้เห็นภาพ เห็นกลไกการวิเคราะห์ได้ดีมากยิ่งขึ้น  Historical Volatility เป็นค่าคุณสมบัติของพฤติกรรมราคาดูการเบี่ยงเบน หรือการแปรผันของ ราคาหุ้น ราคาสินทรัพย์เทียบกับอดีต คำนวณได้อ่านได้ มันเอามาประเมิน volatility ในอนาคตได้อีก และถ้าเข้าใจ รู้ source การเกิด volatility มันก็ช่วย ในการประเมินความเสี่ยงและสภาวะการณ์ได้ดีมาขึ้น และใช้ volatility ช่วยตัดสินใจในการดำเนินกลยุ

อย่าหวังทางลัด

มีคำถามเยอะมากที่ผมไม่ได้ตอบ คือคำถามประเภททำยังไงให้เก่ง ให้รวย เพราะคำถามแบบนี้ตอบไปมัก จะไม่โดนใจคนถาม ซึ่งส่วนใหญ่มักอยากได้โซลูชั่นสำเร็จรูปแบบ รู้ลัดเป็นเร็ว  แต่ผมชอบตอบคำถามหรือสนทนากับคนที่อยากรู้ อยากเรียนอยากศึกษามากกว่า เพราะเวลาตอบหรือแนะนำอะไรไป คนฟังเขาสนุกที่จะไปค้นหาไปเรียนรู้ต่อ หลายปีในตลาดหุ้น สิ่งหนึ่งที่ผมเรียนรู้เลยคือ มันไม่มีทางลัด อยากเก่งอยากรู้ต้องลงมือทำ ลองมากๆและเรียนจากความผิดพลาดที่เกิด  จนวันหนึ่งเราจ ำกัดหรือขจัดความผิดพลาดเหล่านั้นได้ เราก็จะพบกระบวนการหรือวิธีทางของเราเอง แต่สิ่งเรานี้ไม่ได้เกิดในวันสองวันหรือเดือนสองเดือน มันใช้เวลา การหวังทางลัด มันจึงเป็นเส้นทางหายนะเพราะ เมื่อเราเลือกทางนี้ก็จะไปเข้าทางตีนคนที่หาผลประโยชน์ทางนี้ที่ดักรอสูบเราอยู่ พูดถึงเรื่องทางลัด ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง limitless พระเอกเป็นนักเขียนไส้แห้ง จน และกำลังตีบตันทั้งไอเดียและอนาคตในชีวิต เขาเลือกใช้ยาวิเศษ NZT ยาที่ทำให้กลายเป็นอัจริยะข้ามคืน สามารถใช้สมองได้ 100% รู้ทุกอย่าง เข้าใจทุกอย่างที่ยากๆได้ในไม่กี่นาที  แล้ว พระเอกเอ๊ดดี้ มอร์รา ก็วิ่งเข

Trader Talk

เคยบอกหลายครั้งกับน้องๆเทรดเดอร์ว่า ถ้าอยากพัฒนาตัวเองต้องหาเป้าหมายหรือหาตัวอย่าง และเรียนรู้จากคนเหล่านั้น เทรดเดอร์ระดับอาชีพเมืองนอกมีเยอะที่ประสบความสำเร็จจริงๆ  ไม่ใช่แค่ภาพหรือเปลือกนอก พวกนี้มีทั้งองค์ความรู้และผลงานที่เกิดจากการทำกำไรต่อเนื่องอยู่รอดในตลาดมาหลายสิบปี(ไม่ใช่ปีสองปีและมาอวยกันอะไรแบบนั้น) การอ่าน การฟัง การติดตามคนเหล่านี้มันจะทำให้เราได้ทั้งความรู้ วิธีคิดและเทคนิคใหม่ๆ รวมถึงได้ไฟ และมองเห็นกระบวนการรับมือกับความผิดพลาดต่างๆ  ผมแนะนำเว็บหนึ่งที่ผมติดตา ม ประจำทุกสัปดาห์ เว็บนี้ชื่อ tradertechtalk.com โดยคนทำนี้ก็เป็นนักพัฒนา robot มือเทพคนหนึ่งชื่อ John Verbrugge  เขาจะเน้นการหาเทรดเดอร์และนักพัฒนาสาย Systematic Trading มาสัมภาษณ์ ออกรายการและเผยแพร่ให้เราฟังฟรี ไม่คิดเงิน แต่ละคนที่คัดมานี่ระดับตำนานทั้งนั้น  ผมแนะนำน้องๆที่เดินทางนี้ ลองเข้าไปศึกษาและลองฟัง podcast สัมภาษณ์ดูนะครับ ผมคัดตอนสำคัญๆจาก Top Trader มาให้ดังนี้ 1.  ‪#‎ Howard‬ -Bandy : เทพสาย Quant. ถ้าเคยอ่านหนังสือหรือบทความเข้าจะรู้จัก http://blog.tradertechtalk.com/

Scalping Strategy for IPO

เมื่อเช้าโพสเรื่อง การเทรด IPO ตัว plat ไว้มีคนสนใจ ถามคำถามมาทางกล่องข้อความ  ผมขอตอบแบบสรุปในโพส ถึงกลยุทธ์การเทรดของผม ให้ดู จริงๆการเทรดเก็งกำไร IPO เทรดได้หลายแบบ จะเล่นแบบ 3 วันประเภท Micro trend ตีหัวเข้าบ้านก็ได้ หรือจะเทรดแบบ scalping จบในวัน ออกตาม TP เน้นกำไรพอประมาณ วันนี้เอาแบบสอง คือการเทรด scalping มาสอน  บอกก่อนว่า การเก็งกำไร ไม่ใช้การถือยาว ไม่ใช่การลงทุน ดังนั้นไม่ต้องไปสนใจอะไร นอกจากพฤติกรรมราคา ตรงนี้จำนวนมาก ที่เป็นแมงเม่า ล้มเหลว เพราะไม่ชัดเจน บางคนเมพ ดีใจเก็บ IPO ได้ต่ำกว่าจอง คิดว่าสบายแล้วไป 1 เด้งแน่ๆ ไปซิลลิ่งแน่ๆ ไม่ยอมขาย แถมโชว์เพื่อนอีกต่างหาก บ่ายหรือวันต่อมาก็น้ำตาตกกันไป  เพราะเกมส์พวกนี้ มันรุนแรงผันผวน และยังไม่คงตัว ดังนั้น เอาให้แน่ว่าจะทำอะไร ถือยาวก็ได้แต่ต้องคิดแบบนักลงทุน แต่ถ้าจะเทรดสั้น กินส่วนต่างราคา คิดแบบนักเก็งกำไร นั้นคือคิดถึง ความเสี่ยงที่คุณจะเจอ ว่าอนาคตต่อไป จะเจอแรงการหวดมากแค่ไหน และรับได้มากน้อยเท่าไหร่ ไม่ใช่ไป ฝันถึงกำไร อย่างเดียว ผมเทรด scalping หุ้นตัวนี้ โจทย์ ผมมองกำไรที่ 3R คื

เรื่องของประสบการณ์

ช่วงนี้เจอคำถามทาง message ของเฟสบุ๊คมาแต่เรื่องของหุ้น ติดดอยทำยังดี? /จะขายตัดขาดทุนดีไหม หรือจะรออีกสักเดือน set จะไปถึงไหนค่ะ? เยอะมากครับ จริงๆ ทุกคนเจอปัญหาทางอารมณ์ จิตใจเหมือนกัน คำแนะนำผมเรียบง่ายมากคือ พยายามแยกอารมณ์ ออกจากปัญหา แล้วค่อยคิดหาทางแก้ที่เหมาะสมกับตัวเอง ตอนนี้จำนวนมากกลัว และคิดไม่ตกเวลาเห็นตัวเลขแดงๆในพอร์ต บางคนท่องคาถา ไม่ขายไม่ขาดทุน เลิกดูพอร์ตไปแล้วก็มี สุดท้ายเอาใจช่วยให้ทุกท่านผ่านไปด้วยดีแล้วกัน แต่ถ้าถามผมว่าขนาดนี้หนักไหม ผมบอกได้เลย ว่าไม่ได้หนักอะไรเมื่อเทียบกับช่วงวิกฤติจริงๆ ดังนั้นเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมทางออกฉุกเฉิน ไว้ด้วยก็ดี ไม่ใช่ว่า ตลาดจะแย่จะลง หรอกนะครับ เพียงแต่เราไม่สามารถเดาอนาคตได้ ดังนั้นแม้มันจะมีโอกาสเกิน 1% หรือ 5% เราก็ต้องหาทางออกรับมือไว้เสมอ ผมบอกเสมอว่าการเป็นเทรดเดอร์หรือนักเก็งกำไร เราเล่นกับความเสี่ยงดังนั้นต้อง be prepare ไว้เสมอ ไม่ใช่เอาแต่พยายาม prediction กันอย่างเดียว อีกเรื่องอยากจะแนะนำสำหรับคนอยากเป็นนักเก็งกำไร ชั่วโมงบินสำคัญพยายามสะสมไว้ ทั้งวันที่ดีและวันที่ร้าย

Mental Game

การเทรด หรือการเก็งกำไร ในสายตาคนทั่วไป หรือคนที่ไม่เคยสัมผัส มักจะไม่เข้าใจแก่นของมันเท่าไหร่ ทำให้ความเข้าใจผิด ยังมีอยู่มาก จำนวนไม่น้อย มองภาพการเก็งกำไรเป็นภาพลบ จนไปปะปนกับ การพนัน บ้างยอมรับได้ แต่ก็ยังไม่ลึกซึ้ง มองภาพการเก็งกำไร เป็นเพียงการซื้อๆขายๆ ให้ได้กำไรเป็นครั้งคราว ในความเป็นจริง การเก็งกำไร มันเป็นเกมส์ทางจิต หรือ Mental Game ที่เบื้องหลังมันมีอะไรมากกว่าการส่งคำสั่งซื้อขาย เทรดเดอร์ หรือผู้เล่นเกมส์นี้ ต้องเผชิญ เอาชนะโจทย์ทางจิตใจ เอาชนะการบีบคั้นทางอารมณ์  ดังนั้นเทรดเดอร์ แต่ละคน จึงมีทักษะ มีวิธีการเอาชนะ เพื่อเล่นเกมส์นี้แตกต่างกันไป ตรงนี้ต่างหากคือเคล็ดลับสำคัญ แต่ผมเชื่อว่า จำนวนไม่น้อย ยังคิดว่า เคล็ดลับของเทรดเดอร์อาชีพ คือเครื่องมือเทคนิคอล หรือสัญญาณซื้อขาย แท้จริงแล้วมันเป็นเพียง จุดเครื่องให้สัญญาณเข้าออก บนหลักความน่าจะเป็นเท่านั้นเอง  แต่มือใหม่ มือสมัครเล่น ต่างเชื่อมั่นและยึดมั่น เรื่องของเทคนิคอลมาก  และใช้มันด้วยความเชื่อ ตามๆกันไป เชื่อตามแหล่งที่เรียนมา หรือเชื่อตามผู้รู้กูรูต่างๆเขาใช้กันก็อยากใช้ตาม ปราศจากการทดสอบ