ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Linear Grid System(เวอร์ชั่นเก่า)

ผมนำเสนอแนวคิดและระบบเทรดแบบ Grid System มาหลายรอบ อธิบายมาก็เยอะ หลายท่านสนใจ ผมเลยคิดว่าสรุปรวมๆแล้วเขียนเป็น บทความเลยน่าจะดี เลยเป็นที่มาของบทความนี้



Grid System จริงๆมันคือนิยามของระบบที่ ซื้อขายตามแนวเส้นระดับราคา ที่มีระยะห่าง(interval) คงที่ ตรงนี้แตกต่างจากระบบเทรดอื่นๆ ที่มันใช้สัญญาณซื้อขาย จากเครื่องมือ indicator จากกราฟแท่งเทียน จากโมเดลคณิตศาสตร์

ข้อดีของกริด คือ ไม่สนใจทิศทาง(กรณีเป็น Bi-direction) สามารถเทรดได้โดยไม่ต้องเดา อนาคต ไม่ต้องเดาแนวโน้ม กริดเน้นการซื้่อขายทำกำไรก้อนเล็ก(ตามการออกแบบโครงสร้างของกริด) เน้นกระแสเงินสด(Cash Flow)ที่ออกมา มากกว่ากำไรคำโตๆ กริดเองทำงานได้ดี ในช่วงราคาเคลื่อนไปมาในระยะ zone 



ตัวอย่าง Grid structure

ปัจจุบันที่ใช้งานกันมี Grid System หลายแบบ ขึ้นกับผู้พัฒนา ที่จะใช้วางกลยุทธ์  ผมอธิบายแยกแบบหลักๆตาม Method ดังนี้

แบบแรก:แบ่งตามการซื้อขาย

Grid One direction >> ซื้อขายสะสม ในหน้าเดียว
Grid two direction >> ใช้ในอนุพันธ์ Long short ได้สองทาง

แบบที่สอง:แบ่งตาม money management

Grid Martingale >> ใช้การแทงทบ เพิ่มขนาด lot ในไม้ 2 3 4 เพื่อ cover loss ในไม้ที่เสีย
Grid Non-Martingale >> พวกนี้ไม่มีการเพิ่ม lot ไม่ตัดขาดทุนไม่มี SL  แต่รอให้ ราคาวนกลับ ใช้กระแสเงินสดชดเชยส่วนการสูญเสียของ equity ไป เป็นการเก็บกำไรไรกริดต่อกริด

ขนาดของกริด(interval) มักจะขึ้นกับ กลยุทธ์ ขึ้นกับปัจจัยและช่วงเวลา เราอาจจะใช้เทคนิค การวาง zone เพื่อกำหนดขนาดกริดให้แตกต่างตามความผันผวน และกำลังโมเมนตรัมการเคลื่อนของราคา 


การเข้า order ในกริด เราจะใช้การวาง pending order หรือเข้าออเดอร์ตามแนวเส้นกริด ที่เราออกแบบไว้ก็ได้ แต่การเทรดเป็นการเข้าออกแน่นอน 



http://www.cwayinvestment.com/2018/06/grid-trading-system.html
http://www.cwayinvestment.com/2017/10/grid-money-management.html
http://www.cwayinvestment.com/2016/06/renko-grid-quantitative-investing.html
http://www.cwayinvestment.com/2016/03/grid.html
http://www.cwayinvestment.com/2014/10/fibogrid.html
http://www.cwayinvestment.com/2014/08/anti-grid.html