ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

Pursuing Truth in the Global Economy 2

จากคลิปสนทนาเรื่อง Pursuing Truth in the Global Economy ในตอนท้ายคลิป โปรเฟสเชอร์ Lawrence Summers ได้แนะนำเว็บ  bridgewater.com  ให้กับผู้เข้าฟังทั้งอาจารย์และนักศึกษาของ Harvard เอาไว้ โดยเขาแนะนำว่าเป็นแหล่งความรู้และมี paper หัวข้อเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเงินที่น่าสนใจ จำนวนมาก วันนี้ผมมีโอกาสได้ลองเข้าไปดู พบว่ามีหลาย paper ใน Research Library ของ bridgewater ที่น่าอ่าน โดยเขาแบ่งเป็น 3 หมวดหลัก ได้แก่ Daily Observations(ติดตามสภาวะเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน ตลาดต่างๆ) ,economi c machine , All Weather investment strategy, Risk Parity ซึ่งถ้าลองได้อ่านอย่างจริงจัง จะพบว่ามันมีความสัมพันธ์และต่อยอดกัน อย่างเช่นเรื่องของ Risk Parity (+un correlated betting) ที่อยู่เบื้องหลังAll Weather strategy ซึ่ง คุณ ray dalio ได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดการบริหารพอร์ต Risk Parity นี้เลย ยิ่งได้ศึกษา global macro economic จะช่วยเห็นภาพกลยุทธ์การจัดพอร์ต+เลือก asset class และการ re balancing บน economic template ต่างๆ อ่าน paper พวกนี้มันจะช่วยทำให้เข้าใจและเชื่อมโยงภาพได้อย่างชัดเจนและถูกต้องมา

Pursuing Truth in the Global Economy with Ray Dalio

Pursuing Truth in the Global Economy คลิปบทสนทนาของ Ray Dalio และ Lawrence Summers ที่ Harvard Kennedy School ช่วงเดือน กพ. 2018 ที่ผ่านมาเป็นคลิปที่มีหลายประเด็นน่าสนใจมาก เนื้อหาราวๆ 1.20 ชม. ค่อนข้างยาว ดังนั้นผมจะมารีวิวเบื้องต้นให้ลองดูกัน 1. ช่วงแรกการแนะนำตัวของคุณ Ray Dalio ซึ่งเป็นศิษย์เก่าของ Harvard University เล่าถึงเรื่องราวจุดเริ่มต้นก่อตั้งบริษัท Bridge water บริหารงานจนประสบความสำเร็จ 2. ประเด็นแนวคิดหนังสือ Principles ที่ Ray Dalio  เขียน โดยเขาอธิบายวิธีคิด กระบวนการเรียนรู้จากความผิดพลาด รวมไปถึงการสร้างวิธีการหาคำตอบ จากการแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดที่แตกต่างกันแบบเปิด 3. ยกตัวอย่างระบบ Dot collector ที่ใช้ในบริษัท Bridgewater การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การโต้แย้ง และการสร้าง algorithm ในการหาคำตอบร่วมกัน การก้าวข้ามความขัดแย้ง 4. ถกกันยาวเรื่องแนวคิด Principle ในโลกความจริง ธุรกิจ การเมือง การบริหารองค์กร ตรงนี้ดีมากเพราะ คุณ Lawrence Summers เขาไม่ได้มองเห็นตาม Ray dalio ทั้งหมด(ไม่ใช่ขาอวย) มีหลายประเด็นที่เขายกขึ้นมาในแง่ปฏิบัติถึงการใช้แนวคิดเพื่อจะสร้าง Meritocrac

South Sea Bubble

เข้ามาในตลาดเก็งกำไร(หุ้น ทองคำ ค่าเงิน และอื่นๆ) นอกจากการเรียนรู้เรื่องการหาเงินสร้างกำไรแล้ว ยังต้องเรียนเรื่องของ"ความเสี่ยง" ให้เข้าใจดีอีกด้วย โดยเฉพาะการเรียนรู้จากเหตุการณ์ในอดีตเนื่องจากตลาดหุ้นบนโลกมีมามากกว่า 200 ปีซึ่งมีบทเรียนมากมายให้เราศึกษา จะช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมตลาดและพฤติกรรมของคนที่เคยเกิด เพื่อนำมาใช้เตือนตัวเราไม่ประมาทและหาทางรับมือกับความเสี่ยง South Sea Bubble ตอนปี 1720 ในตลาดหุ้นลอนดอนของอังกฤษ เป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาที่นักเก็งกำไรควรเรียนรู้ องค์ป ระกอบของ ความคาดหวังในอนาคต + ความโลภบ้าคลั่งของคน + การปั่นราคาหุ้น ทำให้เกิดหายนะ การขาดทุนมหาศาลจุดจบอันขมขื่น โดยเฉพาะเมื่อมีชื่อของบุคคลดัง มากด้วยสติปัญญาอย่างท่าน Sir Isaac Newton เข้าไปเป็นเหยื่อในเกมส์การเงินนี้ด้วย ใน paper นี้ของคุณ Andrew Odlyzko บอกเล่าเรื่องราวของ และรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับการลงทุนของ Isaac Newton โดยเฉพาะพยายามแสดงข้อมูลเกี่ยวข้องกับบทบาทการเป็นนักลงทุนในตลาดหุ้นของ Newton ข้อมูลการลงทุนในบริษัทต่างๆและประเด็นการขาดทุนสูญเสียเงินอย่างหนักในฟองสบู่ South Sea Bubble เวล

Anti fragile Career

พอดีวันนี้ได้อธิบายตัวอย่างในหนังสือ Anti fragile ของคุณ nassim taleb ให้น้องเทรดเดอร์ฟัง เลยทำให้นึกถึงกรณีตัวอย่างจากหนังสือเรื่องของคนขับแท๊กซี่และเสมียนธุรการ ประเด็นใหญ่เรื่องการประกอบอาชีพก็ควร กระจายความเสี่ยง (diversification) เช่นกันกับการลงทุน เพราะมันคงไม่มีอะไรแน่นอนในอนาคต แม้จะมีตำแหน่งใหญ่โตหรือเงินเดือนสูง ความเสี่ยงก็มีได้เช่นกัน ลองเอาบทความเก่าในอดีตมาแชร์กันอีกรอบ สำหรับแนวคิดการสร้าง Antifragile Career เรื่องราวของพี่คนหนึ่งเขาเป็นผู้จัดการแผนกของบริษัท เงินเดือนเกือบแสนแต่ต้องมาตกงานตอนวัย 45 เนื่องจากเจ้าของบริษัทขายธุรกิจให้ต่างชาติ ทำให้เจ้าของใหม่ปรับเปลี่ยนธุรกิจและปลดพนักงานออก เขาก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วยอายุที่มาก แม้จะยอมลดเงินเดือน หาต่ำแหน่งธรรมดา แต่การสมัครงานก็ทำได้ยาก ตกงานอยู่ 6 เดือนเงินเก็บหมด เพราะค่าใช้จ่ายมาก ภาระผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ผ่อนบัตรเครดิต และค่าใช้จ่ายของครอบครัว(ภรรยาไม่ได้ทำงาน+ลูกวัย 2 ขวบ) เข้าเดือนที่ 8 เขาเลยตัดสินใจกลับบ้านต่างจังหวัด ขายบ้านหลังหลายล้าน(ผ่อน 20 ปี) ขายรถหรู เปลี่ยนมาเป็นรถกระบะ แล้วหันมาใช้ชีวิตที่บ้านเกิด ทำกิจกา

Commodity Market ตลาดปราบเซียน

ปี 2018 ผ่านมาสองเดือนมีพี่น้องเทรดเดอร์หลายท่านเลยมาปรึกษาเรื่องเข้าเทรดในตลาด commodity ซึ่งส่วนใหญ่เหตุผลแนวคิดคล้ายกันคือเชื่อว่าเงินเฟ้อจะมา ราคาคอมโมดิตี้น่าจะฟื้น เลยคิดจะเข้ามาเทรด ส่วนตัวผมไม่ได้แย้งไม่ได้ขัดอะไรเพราะไม่ถนัดในการทำนายอนาคตอยู่แล้ว แต่อยากเอาข้อมูลอีกด้านมาให้พิจารณากัน คุณ Eric Onstad เขียนบทความเรื่องราวเกี่ยวกับการปิดกองทุนของ Hedgefund ในตลาด commodityในช่วงปี 2017 ไว้ได้น่าสนใจโดยมีความคิดเห็นของหลายท่านว่าตลาดมันไม่ได้ง่าย ไม่ได้ปกติแบบอดีต เขารวบรวมความคิดเห็นของเหล่าผู้บริหารกองทุนต่างๆไว้ดังนี้ - Anthony Ward ปี 2017 ปิด CC+ Hedge fund ซึ่งอดีตชำนาญด้านการเทรด (cocoa&coffee)โดยเขากล่าวโทษว่า HFT และ Algorithmic trading ทำให้พฤติกรรมตลาดเปลี่ยน ราคามีความผันผวนสูง เทรดเดอร์ทั่วไปเสียเปรียบซื้อขายไม่ทัน HFT ทำให้ได้ราคาไม่ดีต้นทุนสูง นอกจากนี้ Ward ยังบอกว่า HFT ทำให้ราคาตลาดวิ่งรุนแรง รับข่าวและการประกาศตัวเลข ราคามากกว่าผลเชิงปัจจัยพื้นฐานไป 10-15% - Stephen Jamison ปิดฟันด์ Jamison Capital ต้นปี 2018 เขากล่าวโทษ AI และ HFT เช่นกันโดยระบุว่า

Decision Making by Annie Duke

วันนี้ระหว่างนั่งกินกาแฟมีโอกาสได้ฟัง podcast เกี่ยวกับ Decision Making จากคุณ Annie Duke โปรโป๊กเกอร์ระดับโลก เธอมาแนะนำแนวคิดการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพบนภาวะที่มีเวลาจำกัดไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลและความจริงทั้งหมด ประวัติของ Annie Duke เธอเป็นนักโป๊กเกอร์อาชีพระดับโลกเจ้าของ WSOP Bracelets ปี 2004 เธอเริ่มเล่นโป๊กเกอร์ตอนปี 1992 ระหว่างพักช่วงการเรียนปริญญาเอก ก่อนจะลาออกมาเล่นโป๊กเกอร์เต็มตัว เธอเป็นนักโป๊กเกอร์ที่เรียกว่ามีฝืมือและวิธีคิดไม่ธรรมดา บวกกับพื้นฐานความรู้จา กการศึกษาด้านจิตวิทยา(เน้นวิจัยเกี่ยวกับ cognitive linguistics) ในรายการ Annie Duke พูดถึงวิธีคิดที่เธอมองว่าการเล่น Poker ช่วยการตัดสินใจที่ดีได้นั้นคือ การมองโลกอย่างเป็นจริง โดยเธอแนะนำว่าต้องเข้าใจเรื่องความน่าจะเป็น โอกาสที่ Outcome จะเกิดได้ทั้งบวกและลบ แทนที่พยายามจะคิดเข้าข้าง หรือติดกับ ego ว่าตัวเราต้องถูกตลอดเวลา การมี open mind ช่วยให้เรามองเห็นทั้งสองด้านโอกาสถูกและผิด จากนั้นเราจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลแบบไม่มี Bias หรือไม่พยายามคิดเข้าข้างหาเหตุผลมาสนับสนุนว่าตัวเรานั้นถูก นอกจากนี้ เรายังสาม

Risk Tolerance

ตลาดหุ้น ตลาดอนุพันธ์ ตลาดค่าเงินช่วงนี้มีความผันผวนเยอะพอควร ซึ่งทำให้เราควรจะระมัดระวังตัวให้มากๆ ไม่ประมาท แทนที่จะไปโฟกัสกับเรื่อง"กำไร" อาจจะต้องหันมาทบทวนแผนรับมือความเสี่ยงให้มากขึ้น ชวนมาทำความรู้จักกับคำว่า Risk Tolerance ซึ่งเป็นค่าที่เทรดเดอร์/นักลงทุนควรจะมีการนิยามเอาไว้ก่อนสำหรับทุกครั้งที่มีการเทรด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ risk management จากบทความของ Chad Butler เขาแนะนำเรื่อง Risk Tolerance เอาไว้ดี ผมนำเอาประเด็นหลักมาแชร์ให้พวกเราลองศึกษากัน 1. Risk Tolerance by Time horizontal การมองว่า เรามีความสามารถในการถือ position ได้ยาวนานแค่ไหน ทนรอรับความเสี่ยงที่เกิดเชิงเวลามาเพียงใด ปัจจัยนี้พิจารณาไปถึงต้นทุนเชิงเวลา ค่า swap , อัตราดอกเบี้ยต้องจ่าย และค่าเสียโอกาสของเงินทุน ด้วย ไม่ใช่ถือทนไม่ขายไม่ขาดทุนอย่างเดียว เพราะพวกนี้จำเป็นต้องมีการคำนวณไว้ล่วงหน้า กรณีลงทุนระยะยาวควรติดถึงอายุและความจำเป็นต้องใช้เงินประกอบด้วย นอกจากนี้กรณีพวกอนุพันธ์ หรือสินค้าที่มีวันหมดอายุ เรื่องกรอบเวลาหรือปัจจัย time decay ยิ่งจำเป็นต้องมีการพิจารณาล่วงหน้าเสมอ 2. R