ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

Bubble

คำว่า Bubble เริ่มกลับมามีการพูดถึงใน media อีกครั้งในช่วงเดือน สิงหาคมนี้ , ประเด็นใหญ่คงเป็นเรื่องความร้อนแรงในตลาดหุ้นสหรัฐ , และสินทรัพย์อย่าง cryptocurrency ผมมีโอกาสได้ฟัง podcast คุณภาพสูงเช่น Planet Money เขารีรันบทสัมภาษณ์ปี 2013 เกี่ยวกับ 2 นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลที่มี มุมมองกับคำว่า Bubble แตกต่างกัน คือคุณ Robert Shiller และ Eugene Fama , Robert Shiller นี้เชื่อว่ามีฟองสบู่เพราะความไม่สมบูรณ์ของตลาด , โดยให้คำแนะนำในการสังเกตดังนี้ 1. ราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาไม่นาน, 2. คนพยายามหาคำนิยามที่สมเหตุสมผลมาอธิบายการเพิ่มของราคาแบบไม่ปกติช่วงบูมการก่อตัวของฟองสบู่ 3.เริ่มมีคนพูดถึงผลตอบแทนหรือการทำเงินที่ได้จากช่วงฟองสบู่ 4. คนวงนอกรู้สึก เสียดาย เสียใจที่ตกรถ 5. Media เริ่มเข้ามาโปรโมท เข้ามาพูดถึงมากขึ้นๆ เพื่อเกิดการพูดถึงวงกว้าง มุมมองของ Eugene Fama แตกต่างไปเพราะไม่เห็นด้วยกับประเด็น Bubble เขาคิดว่าไม่มี Bubble เพราะราคาสินทรัพย์ควรเป็นตัวแทน infomation ทุกอย่าง ดังนั้นถ้าผู้เล่นในตลาดรับรู้ว่า ราคาแพงสูงเกินจริง ก็ไม่ควรมีการซื้อเพิ่ม, นอกจากนี้

A Non-Random Walk Down Wall Street

เมื่อเช้าผมเห็นคนพูดถึงเนื้อหาใน A Random Walk Down Wall Street แล้วโจมตีแนวทางการเทรด, และการใช้โมเดลการวิเคราะห์ราคาหุ้น จริงๆผมเคยอธิบายประเด็นนี้ไว้แล้วเมื่อหลายปีก่อน ดังนั้นคงไม่อยากไปโต้แย้งอะไรเพิ่มเพราะสุดท้าย มันเป็นเรื่องของความเชื่อส่วนบุคคล ,แต่สิ่งที่เราเห็นเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ในยุคปัจจุบัน จะพบคนที่ประสบความสำเร็จจากตลาดหุ้น เช่น Ray dalio, George soros, Jim Simons , Warren buffett ล้วนไม่ได้ใช้วิธีการหรือแนวทางเดียวกันเสมอไป ดังนั้น มันย่อมมีมากกว่า วิธีการเดียว หรือความเชื่อเดียว ที่เอาชนะตลาดและอยู่รอดในตลาดหุ้นเสมอ ถ้ามีโอกาสอ่าน A Random Walk Down Wall Street อยากเห็นอีกด้านของเหรียญ หรือวิธีคิดที่แตกต่างออกไป ผมแนะนำหนังสือชื่อ A Non-Random Walk Down Wall Street เป้าหมายที่เขียนขึ้นเพื่ออธิบายจากข้อมูลจริงและโมเดลเชิงเลขที่บอกว่า ราคาหุ้น ไม่ได้มีแค่ random walk เสมอไปหรือทุกช่วงเวลาแต่มัน adaptive ความเสี่ยงที่เกิดก็ปรับเปลี่ยนเพิ่มลดไปได้เช่นกัน และเราก็ใช้ประโยชน์จากมันได้ คนเขียนหนังสือเล่มนี้ก็ไม่ได้โนเนม แต่เป็น professor Andrew W. Lo แห่ง MIT Sloan Sc

Cathie Wood vs Michael Burry

ช่วงนี้กำลังตามประเด็น ยักษ์ชนยักษ์ ระหว่าง Cathie Wood vs Michael Burry ช่วงเดือนที่ผ่านมา ซึ่ง Michael Burry ตั้งป้อมมาวิจารณ์ราคาหุ้น tesla และประกาศ ซื้อ put options ของ TSLA เพิ่ม รายงานระบุมีสถานะ 1.1 million put options มูลค่าราวๆ $731 million , รวมถึงการ short position against กองทุนของ ARKK ของ Cathie Wood ราว $31 million ล่าสุด Cathie Wood ออกมาโต้ Michael Burry ด้วยข้อความสั้นๆทาง twitter ว่า Michael ไม่เข้าใจการประเมินมูลค่าจากการเติบโตและโอกาสของหุ้นสาย tech & innovation space ประเด็นนี้ทำให้มีการถกเถียงกันมาก ทั้งจากนักลงทุนทั่วไป และกูรูคนดัง ที่มองกันต่างมุมบ้างก็เห็นด้วยกับ Michael Burry บ้างก็มองว่าเป็นเรื่องเสี่ยงเกินไปจะไป short กองทุน ARKK ที่เต็มไปด้วยหุ้น Tech อันดับต้นของโลกและหุ้นเกี่ยวกับ blockchain Tech , บ้างก็ว่า Burry อาจจะรอปาฏิหารย์อีกรอบ แต่ครั้งนี้กรอบเวลา ของการรอคอย เพื่อวัดผล ทั้ง Cathie Wood และ Michael Burry คงจะไม่เท่ากัน และหลายอย่างอาจจะไม่ง่ายแบบเขาคิด เช่นก่อนหน้าออกมาอัด Bitcoin อย่างหนักทาง twitter และล่าสุดราคาก็ดีดกลับ จากข้อมูลท

Tail risk Q32021

เมื่อวานพูดเรื่องการ hedging สำหรับป้องกัน tail risk ไป วันนี้ไปเจอกราฟจาก BofA เลยนำมาแชร์ต่อ ประกอบการอธิบาย ซึ่งกราฟนี้เป็นผลสำรวจ Fund manager survey เพื่อดูว่า กลุ่มนี้กำลังกังวลกับปัจจัยเสี่ยงอะไรเป็นหลัก ในช่วงนี้ ซึ่งกราฟเทียบช่วง เดือน 7 และเดือน 8 ความน่าสนใจคือ inflation เริ่มลดลงไป เช่นเดียวกับ นโยบาย taper ของ Fed แต่ Covid-19 delta variant เพิ่มสูงมากขึ้นทีเดียว, ขณะเดียวกับเรื่อง asset bubble กลับมาอีกรอบ , พร้อมกับปัจจัยเสี่ยงใหม่เรื่อง นโยบายของจีน ที่จะกระทบกับตลาดหุ้น แม้จะผ่านมาเข้าเดือน 8 ของปี 2021 แล้วแต่เหมือน ความท้าทายและความเสี่ยง ยังมีอีกหลายประเด็นที่รอเราอยู่ จนกว่าจะจบปี ดังนั้นก็อย่าประมาทและเตรียมแผนรับมือกันต่อไปครับ... https://twitter.com/.../status/1427548437747179520/photo/1

การหายไปของแรงงานหลังเปิดเมือง

วันนี้ผมได้ฟัง podcast รายการ oddlot ตอนหนึ่งพูดถึงปัญหาวิกฤติแรงงานในกลุ่มธุรกิจ บริการและอื่นๆ หลังช่วงเปิด lockdown ล่าสุดในสหรัฐ เช่น ร้านอาหาร,โรงแรม,ฟาสฟู๊ด,ร้ายสะดวกซื้อ ที่เหมือนว่า แรงงานกลุ่มเดิม ยังไม่พร้อม หรือไม่ต้องการกลับเข้ามาทำงาน หลายร้านจะเห็นการติดป้ายรับสมัครงาน หรือขออภัยลูกค้าเนื่องจากไม่สามารถบริการได้อย่างเต็มที่ ผู้เชียวชาญที่ให้สัมภาษณ์ในรายการ ระบุมันเป็นความไม่ปกติที่คงรอเวลา เพราะปมปัญหา ของการไม่พร้อมกลับมาของแรงงานกลุ่มนี้มีหลายปัจจัย เช่น ความกลัวในการติดโรคเพราะงานบริการก็เป็นอาชีพเสี่ยงในการติด covid ได้ง่าย ,และลูกจ้างมีการต่อรองค่าแรงขึ้นเพื่อชดเชยความเสี่ยง แรงงานบางกลุ่ม อาชีพชั่วคราว ก็ยังใช้ประโยชน์จากเงินช่วยเหลือของรัฐ ทำให้ยังไม่กลับมาทำงานในตอนนี้ , รวมถึงจำนวนไม่น้อยต้องดูแลคนในครอบครัวที่ป่วยจาก covid-19 อีกปัจจัยหนึ่งที่มีการพูดถึงมาเรื่อยๆ คือ มุมมองชีวิตที่เปลี่ยนไป หลังเผชิญกับความกลัวและการได้เห็นคนป่วยหนัก คนในครอบครัว ใกล้บ้านในชุมชนต้องตายไป ปัจจัยนี้ทำให้ หลายคนหมดไฟ. เหนื่อย เบื่อกับงานที่ผลาญเวลาของชีวิต ในภาพเป็นข้อมูลจากการสำร

Rule 72 กับ Risk management ของระบบเทรด

ขยายความไอเดียที่ แชร์เมื่อคืนในห้องเทรดมือใหม่นะครับ Key สำคัญคือการออกแบบระบบ ที่มันไม่เร่งเกินไป เพื่อให้เราติดกับดักความโลภและการมโนคติ อยากให้ระบบเทพที่แม่นยำสูงๆ กำไรเยอะๆ(สุดท้ายก็ไปแต่งระบบให้สถิติดูดีจน over fitting กับข้อมูลอดีต แต่ใช้จริงไม่รอด) แทนที่จะเร่ง ก็ลองปล่อยให้ระบบมันโตแบบพอดี ผมเลยแนะนำให้ลองนำเอา Rule 72 มาใช้ตั้ง Goal ในการวางแผนระบบ โดย Rule 72 คือแนวทางการประมาณการเพิ่มของเงินต้นเป็น 2 เท่า หรือสร้างผลตอบแทน 100% จากทุนเริ่มต้นที่มี เช่นกรณีนี้ผมตั้งเป้าว่าจะปรับต้นทุนให้เหลือ 0 หรือทำกำไรให้ได้ 100%เพื่อ cover ต้นทุนในการเทรดเริ่มต้นใน 3 ปี ก็ประเมินหา rate of return ที่เหมาะสมได้จาก 72/3 = 24 หรือราวๆ 24% ต่อปี , ตัวเลข Return คาดหวังนี้ก็นำไปใช้ออกแบบ Money management และวางกลยุทธ์ในการเทรดต่อ เช่น ถ้าใช้ leverage 5x , เมื่อเทียบกับการกระจายไปบน asset ที่มี volatility ไม่สูงเกิน 10% ผสม 1-3 ตัวเพื่อลด total risk โอกาสในการทำสำเร็จได้ผลตอบแทนต่อปีตามเป้าก็มีได้จริง โดยไม่ต้องเสี่ยงหมดตัวจากการเร่ง over trading ด้วยการใช้ leverage สูงๆแบบ 50x , 100x ด้วย

The science of technical analysis vs. the art of trading

กำลังเตรียมวัตถุดิบในการเขียนหนังสือเล่มใหม่ เลยกลับไปฟังคลิป chatwithtraders เขานำคุณ Brian Shannon แห่ง Alpha Trends เทรดเดอร์ & นักวิเคราะห์ทางเทคนิค CMT ผู้มีประสบการณ์ในตลาดหุ้นมากกว่า 20 ปี มาพูดคุยหัวข้อ The science of technical analysis vs. the art of trading ผมคิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับเทรดเดอร์ทั้งมือใหม่ มือเก่า ผมเลยแชร์โน๊ตสรุปมาให้ครับ 1.เส้นทางการเป็นเทรดเดอร์ -เริ่มต้นสนใจตลาดหุ้นช่วง high school เขาช่วยพ่อหาข้อมูลและนั่งอ่านนิตยสารหุ้นด้วยกัน - ตอนเรียนมหาวิทยาลัยก็มีโอกาสได้เทรดทำกำไรจากตลาดหุ้นได้หลายพันเหรียญ มันยิ่งทำให้เขาอยากศึกษาอยากเรียนรู้เรื่องหุ้นมากขึ้น - เรียนจบมหาวิทยาลัย เขาเลือกทำงานเป็น stock broker ให้กับบริษัทโบรกเกอร์แห่งหนึ่งด้วย ความอยากสัมผัสและเรียนรู้จักตลาดหุ้นมากขึ้น - เป็นตัวแทนซื้อขายหุ้นหลายปีและมีโอกาสย้ายไปทำงานกับโบรกเกอร์ขนาดใหญ่อย่าง leaman brother เขาก็เริ่มหันมาศึกษาเรื่องของกราฟเทคนิคอลจริงจัง - 1998 พอมีโอกาสมาเขาก็เปลี่ยนงานมาเป็น Prop Trader ให้กับ Generic Trading, LLC ในนิวยอร์ค เพราะด้วยต้องการเงินทุนมาเทรด รวมถึงมีการแบ่

Life begins at 40

บันทึกประเด็นสำคัญไว้หน่อย พอดีไปเจอคลิปนี้ของ Professor Mark Jackson เกี่ยวกับ midlife crisis บรรยายไว้น่าสนใจมาก ประเด็นหลักเป็นเรื่องของชีวิตที่ไม่เป็นดังหวัง เมื่อตื่นมาตระหนักได้ตอนช่วง 35-40 ปีก็กลายเป็น midlife crisis ที่เริ่มจาก ปัญหาแรงกดดันจากการงาน,การเงินและครอบครัว , อธิบายสั้นๆเหมือนฉากหนัง ที่ตัวละครวัย 40 ตื่นเช้ามาตระหนัก เบื่อและเหนื่อยกับการทำงานที่ต้องรับผิดชอบปัญหาไปวันๆ(ยากจะก้าวหน้า), ขณะที่ยังมีหนี้บ้าน หนี้บัตรเครดิต หนี้การศึกษา ก้อนใหญ่ต้องผ่อน, เงินเดือนยังไม่พอใช้ ครอบครัว ลูก เมียก็อยู่ไม่สะดวกสะบายหรือดีเหมือนคนอื่น ยิ่งทำงานมากไม่มีเวลาให้ครอบครัว ก็ยิ่งเกิดปัญหา ไม่มีความสุข ติดอยู่กับวังวนเดิมๆ จะทิ้งหรือหนีออกก็ไม่ได้เพราะมีภาระความรับผิดชอบค้ำคอ แต่ก็ไม่มีแรงกระตุ้นอยากเดินหน้าต่อไป สุดท้ายเครียดคิดไม่ตก เหมือนกำลังสูญเสียตัวตนในอดีต ที่เคยโดดเด่น ที่เคยมุ่งมั่นไป (สุดท้ายถ้าแก้ไม่ได้ก็นำพาไปสู่ปัญหาอื่นๆ เช่น เรื่องสุขภาพจิต สุขภาพกาย, ปัญหาการหย่าร้าง ตามมา) ผู้บรรยายชี้ประเด็นหนึ่งน่าคิดเพราะบอกว่า ใครๆตกในภาวะนี้ได้(โดยเฉพาะช่วงวิกฤติเช่นวิกฤต

Delta Neutral ????

  คลิปนี้เป็น lecture เรื่อง Options II ของ MIT สอนโดย prof. Andrew Lo , (จัดว่าเป็นอีกคลิปที่สอนเรื่องเทรด options ดีมากเพราะไม่มโนและเป็นสายอธิบาย math ได้เข้าใจชัดเจนดี) ในภาพนี้กำลังบรรยายเรื่อง option strategies ,มันตรงกับคำถามหนึ่งที่มีคนถามเข้ามาว่า ทำไมไม่ Buy ทั้ง call และ put ที่ stike price เดียวกันหรือใกล้กัน(Delta Neutral) เพื่อหา profit จาก high volatility และดักทั้งทิศทางขึ้นและลงของ ตลาด ถ้ามองในภาพจะเห็นว่า V shape ของ payoff diagram มันมี สามเหลี่ยมเล็กที่สะท้อนถึง cost จากการเปิดสัญญา เอาจริงๆถ้าเคย Buy put options ตอนภาวะความไม่แน่นอนในสภาวะตลาดและทิศทางราคาอนาคต(แบบตอนนี้ทั้งใน stock market หรือ crypto market) ต้องจ่ายค่า premium แพงกว่าปกติเสมอ , ทำให้สุดท้าย ต้นทุนในการทำ กลยุทธ์ call+put นี้อาจจะ ขาดทุน ก็เป็นได้ ดังนั้นถ้าจะทำต้องหา tactic มาเก็บ position ให้ได้ต้นทุนที่เหมาะสม แล้วต้องลองคำนวณต้นทุนในการเทรดดีๆ เพราะการเทรด options มันไม่ง่ายแบบในตำราเสมอไป, (ถ้ามือใหม่ แนะนำลอง buy ใน spot market + buy put options จะทำกลยุทธ์ได้ง่ายกว่า) เรียนรู้เพิ่ม

Shitcoin ของจริง เพื่อสิ่งแวดล้อม

อ่านเจอบทความนี้น่าสนใจดี น่าเป็นอีกไอเดียของการจะทำให้ cryptocurrency เข้ามาช่วยในการลดปัญหาสิ่งแวดล้อม โมเดลนี้เป็นต้นแบบ พัฒนาโครงการโดย professor Cho Jae-weon, จาก Ulsan National Institute of Science and Technology ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งทีมวิจัยได้สร้าง eco-friendly toilet ชื่อ BeeVi toilet ระบบไม่ใช้น้ำ ใช้ vacuum pump ดูดนำกากของเสียไปเก็บใน ถังเก็บ bioreactor ใต้ดินที่ใช้ในการหมักเพื่อผลิต ก๊าซ methane นำมาใช้ในต่อเป็นพลังงานในการหุงต้มประกอบอาหารได้ ระบบแบบนี้ไม่ได้แปลกใหม่ มีมานาน แต่เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ได้ต่อเนื่องและนิยมมากพอ ทางทีมวิจัยนำเทคโนโลยีมาช่วย โดยสร้าง token ชื่อ "Ggool" (ภาษาเกาหลีแปลว่าน้ำผึ้ง) เพื่อใช้เป็น reward สะสมทุกครั้งที่มีการใช้ห้องน้ำ BeeVi toilet ,เฉลี่ย 10 Ggool ต่อวัน นักศึกษาก็สามารถใช้ app บนมือถือในการเก็บ token ใส่ wallet แล้วสะสมนำ Digital Currency ไปแสกน QR code เพื่อซื้อสิ่งของเช่น กาแฟ, บะหมี่ ผลไม้หรือ หนังสือ จากร้านใน Ggool market ของ มหาวิทยาลัยได้ ซึ่งจากการเก็บสำรวจความคิดเห็น ผลตอบรับของนักศึกษาที่ใช้งานห้องน้ำนี้ก็ดีม

Historical Parallels to Today’s Inflationary

วันนี้ผมได้อ่านบทความฉบับหนึ่งจาก blog ของทีมที่ปรึกษาเศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐ whitehouseCEA เขาเขียนถึงประวัติการเกิด Inflation ไว้น่าสนใจมากและยาวมาก ประเด็น infaltion ที่สหรัฐตอนนี้มีการถกเถียงและวิเคราะห์กันมากและหลากหลาย ในมุมต่างๆ บทความนี้เขียนโดยนักวิชาการสายรัฐบาล แต่ก็มีข้อมูลอดีตที่เขารวบรวมไว้ได้ละเอียดมาก (มากพอกับในหนังสือ Big Debt Crises ของ Ray Dalio เลย) รายละเอียดเยอะมากไม่ขอแปลทั้งหมด แต่สิ่งที่น่าสนใจคือการเกิดภาวะเงินเฟ้อสูงในอดีตตั้งแต่หลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 บทความนี้นำเสนอมีทั้งหมด 6 episode หลายครั้งเกิดจากเหตุไม่ปกติของ supply ในระบบ (Supply chain disruption) และโยงไปกับต้นทุนการผลิตเช่น ภาวะราคาน้ำมัน ที่สูงจากการขาดแคลนเป็นต้น รวมถึงการเกิดสงครามใหญ่ เช่นสงครามเกาหลี, สงครามอิรักบุกคูเวต เป็นต้น Episode ล่าสุดที่ระดับ CPI ขึ้นมาถึง 5% เป็นช่วงปี 2008 ที่มีการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน แบบฉับพลันจาก $70 ไปจุดสูงสุด $140 ในเวลา 2 เดือนเท่านั้น ซึ่งสาเหตุต่างๆทำให้เกิด demand and supply chain disruptions ที่รุนแรงและมีผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ CPI พุ่ง

Ethereum Upgrades Could Jumpstart $40 Billion Staking Industry

  Bitcoin & Altcoin Market crash รอบที่ผ่าน(May 2021) และหลังจากนั้น story หลักหนึ่งที่กดดันอารมณ์ตลาด คือเรื่องของการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า กระทบสิ่งแวดล้อม(จุดประเด็นโดยท่าน elon musk), การปิดเหมือง Bitcoin Mining ในจีน ซึ่งประเด็นหลักโยงไปกลุ่ม proof-of-work มาสัปดาห์นี้หลังราคา cryptocurrency หลายตัว พักตัวใน zone รับยืนระยะได้ ก็มี story เชิงบวกออกมาเรื่อยๆ ที่เรียกว่าเป็นเชิง solution อันนี้ดูจะเป็นประเด็นใหญ่ช่วงนี้คือพี่ใหญ่แบบ JPM ออกมาให้ข่าวว่า Staking คือสิ่งใหม่ ที่ดึงดูดเงินนักลงทุนรายย่อยและสถาบัน ให้เข้ามาลงทุน เพื่อรับ reward ผลตอบแทน ในช่วงอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดย JPM ชูประเด็น Ethereum 2.0 ที่กำลังจะมาถึงในช่วงปลายปีกับการอัพเกรดเปลี่ยนไปเป็น proof-of-stake ซึ่งเมื่อพี่ใหญ่อันดับ 2 ของตลาดคริปโต หันมา staking มันย่อมขับ demand ของ ETH ให้เพิ่ม(ราคา ETH ยืนเหนือ $2000 หลังลงไป $1700) รวมไปถึงจะดึงดูดให้ นักลงทุนเข้าร่วม staking เพื่อรับผลตอบแทน ผ่าน staking pool หรือรายใหญ่เข้ามาเป็น validator node นักวิเคราะห์ JPM ให้ข้อมูลในรายงานว่าปัจจุบันการลงทุนเพื่อ St

Improving Your Trading Consistency

วันนี้นั่งฟังรายการ Three Minute Trading Coach ของคุณ Brett Steenbarger เขาแนะนำเรื่องของ Trading Consistency การตัดสินใจเทรดได้ดีและต่อเนื่อง จากมุมมองของนักจิตวิทยา โดยสรุป Dr. Steenbarger บอกว่าให้เริ่มจากการรับรู้(Observation) ข้อมูล,รับรู้สภาวะของ Market เพื่อทำความเข้าใจรูปแบบของพฤติกรรมตลาด(Pattern) ที่เกิด , ส่วนใหญ่ก่อนในวันเริ่มเทรด เขาพยายามศึกษา ทำความเข้าใจ เช่นการมองการเคลื่อนที่ของราคา(Price Movement & Trend), กรอบราคาและการ Breakout สุดท้ายมองหาแนวราคาที่อาจจะเกิดการกลับตัว(Reversal) ซึ่งรูปแบบ ในภาวะตลาดจะเกิดแตกต่างกันไป Key สำคัญเพื่อให้เกิดการเทรดได้ดีและต่อเนื่อง คุณ Steenbarger เขาเน้นการเปิดใจ(open mind) เพื่อเข้าใจสิ่งที่เกิดจริง(Reality) ก่อน ที่จะไปตั้งธงมี Bias โดยจดจ่อกับกำไรหรือขาดทุนอย่างเดียว เพราะการมองแค่ผลกำไรหรือกลัว กังวลกับการขาดทุน จะทำให้ไม่สามารถมองเห็นภาพที่ควรเป็นจริง ได้ครบหรือดีเพียงพอ ยิ่งทำมากๆจะสะสมเป็นประสบการณ์ , การเข้าใจตลาดที่ดีจะทำให้เราตัดสินใจแบบ Real time ได้ดี , ซึ่งดีกว่าการตั้งฤธง หรือไปตั้งเป้าการทำนายว่า วันนี้ราคาจะต้อ

Global Inflation Data

  สินทรัพย์พวกปกป้องเงินเฟ้อเข้าภาวะขยับและทรงกันมาสักระยะ โดยเฉพาะทองคำค้างในโซน 1780 จากสัปดาห์ที่แล้ว สัปดาห์นี้ยังนิ่งอยู่ ในตลาดสหรัฐ ประเด็นเงินเฟ้อก็เป็นประเด็นใหญ่ ที่ทั้งสื่่อและนวค. กำลังพูดถึง โดยเฉพาะตัวเลขระดับ 5% ที่น่าจะมาถึง ล่าสุดมีอดีต รมค.คลังอย่างคุณ ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส ออกมาให้ความคิดเห็นเงินเฟ้อว่าปีนี้ ปลายปีโอกาสไป 5% เช่นเดียวกันการน่าจะได้เห็นทิศทางของผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐในแนวโน้มขาขึ้น เขามองว่าตลาดการเงินอาจจะปั่นป่วนได้เช่นกัน ออกมาตรงข้ามกับนักเศรษฐศาสตร์ และกูรูหลายท่าน เช่น คุณ เจเน็ต เยลเลน ที่ว่าน่าจะเป็นภาวะเงินเฟ้อชั่วคราว ไม่นานก็ผ่านไปเข้าภาวะปกติ ภาพข้อมูลจากคุณ charlie bilello ข้อมูลเงินเฟ้อ CPI(%YoY)แต่ละประเทศ เราจะเห็นความแตกต่างค่อนข้างมากทีเดียว ต่ำสุดเป็น ญีุ่ปุ่น -0.01% (ถึงติดลบเลย) ใครจะไปคิดว่าปีนี้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกแต่ดูเหมือนจะไม่ได้ช่วยอะไรกับการขยายตัวของเศรษฐกิจเท่าไหร่แบบที่หวังเมือ 4 ปีก่อนเมื่อโดน covid เข้าไป ส่วนสิงค์โปรใกล้บ้านเรา อยู่ที่ 2.4%, ฟิลิปินที่ 4.5% ส่วนสหรัฐนี้พุ่งไป 5% ขยายตัวแรงมากจากหลังช่วงเปิดเศรษฐกิจรอบใ