ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

ข้อควรระวังในการสอบชิงทุนสำหรับเทรดเดอร์

  อยากแชร์ข้อมูล พอดีไปเจอ Prop Trading (Fund) ต่างประเทศบางเจ้า(ไม่ระบุชื่อนะ) อ่านเงื่อนไขแล้วรู้สึก เทรดเดอร์เสียเปรียบ เพราะไม่ได้ต่างอะไรกับโบรกเกอร์เลย เช่น 1. ต้องเปิดบัญชี เทรดบน Platform ของเขา นั้นคือ บริษัทเป็น market maker ดูแลกระดานเทรด, ราคาสินค้าเทรดเอง(ลาก/กระชากราคาเพิ่ม volatility ให้สูงกว่าปกติ ,หรือทำ stoploss hunter เองได้ด้วย), กำหนดค่า Fee ,ค่า Com ,ค่า swap เองทั้งหมด 2. เสียค่าสมัครทดสอบ paper trading 15 วัน $200 เงินกินเปล่าแรกเข้า(เงื่อนไขสอบไม่ยาก เพราะเขาอยากให้คนร่วมเยอะๆ) 3. ต้องฝากเงินในบัญชีอย่างน้อย 1 ใน 10 เช่น $10,000 เพื่อรับทุนเทรดบัญชี $100,000 (คล้ายกับ leverage 10x) 4. ต้องทำยอด เทรดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 Order, จำนวนเทรดสะสมต่อเดือนต้องเกิน 1-5 lot ขึ้นกับเงินทุน (ไม่ถึงตกต้อง สมัครใหม่จ่าย $200) 5. ห้ามขาดทุน Drawdown เกิน 5%-10% ของ capital ไม่งั้นตกไม่ผ่าน 6. กำไรที่ได้คิดจากเงินทุนทั้งหมด แบ่ง 20-30% ให้บริษัท เทรดเดอร์ได้ 70% เช่นเทรดได้กำไร $1000 โดนหัก $300 (อันนี้ดูได้เยอะ คล้ายเราเป็นเจ้าของเงินทั้งหมดเลย) 7. ถ้าเทรดผ่าน 1 ปีได้เงินเพ

Risk IQ

  คนทั่วไปที่ไม่ได้เกิดมาร่ำรวย ส่วนใหญ่เราก็อยากรวยเยอะๆเร็วๆ ทั้งนั้นเพราะความโลภ มันคือเรื่องปกติ เมื่อติดกับตัวเลขหรือจำนวนเงิน ซึ่งจะทำให้ Risk IQ ลดลง แต่การจะมั่งคั่ง อย่างยั่งยืนได้ คำแนะนำส่วนใหญ่จากคนที่ประสบความเร็จทางการเงินแล้วจริงๆ(ไม่ว่าจะนักธุรกิจ,นักลงทุน,นักเก็งกำไร) เขามักจะเน้นให้สร้างโครงสร้างพื้นฐานหรือระบบ ที่สามารถผลิตผลตอบแทนอย่างต่อเนื่อง ให้สำเร็จเสียก่อน ยกตัวอย่างคำแนะนำจากคลิป The 5 Principles Behind the 10 Secrets ของคุณ Anton Kreil อธิบายเรื่องนี้ไว้ดีมาก เขาบอกว่าสิ่งที่ควรทำคือ ถ้าอยากมั่งมี ร่ำรวย ต้องทุ่มเทใช้เวลา ใช้ความพยายาม ในการสร้าง income generating portfolio ไม่ว่าจะมาจากการทำธุรกิจ, การเทรดหรือการลงทุนก็ตาม โดยพัฒนาโมเดลโครงสร้างพื้นฐาน ที่สามารถผลิตผลตอบแทนต่อเนื่อง แล้วนำเอากำไรที่ได้ไปเป็นส่วนขยาย เพื่อสร้างให้เกิดการเติบโต จากผลกำไรทบต้นต่อไปเรื่อยๆ ในระยะยาว ดังนั้นการเทรดก็เช่นกัน เราอาจจะเริ่มด้วยเงินน้อย เงินไม่มาก ไม่เป็นไร (อย่าไปท้อใจ แล้วเอาแต่จะเสี่ยงโชค หรือพึ่งทางลัด) ถ้ามีระบบเทรด มีพอร์ตโฟริโอ ที่สร้างผลตอบแทนที่เสถียร มั่น

Top20 ผู้จัดการกองทุน Hedgefund

 Top20 ผู้จัดการกองทุน Hedgefund ที่ทำผลงานดีเยี่ยมในปี 2022 โดยอันดับหนึ่ง คือ Citadel ของคุณ Ken Griffin (และผลงานบริหารของ Joanna Welsh ) เป็น multi-strategy hedge funds ,สร้างผลตอบแทนปี 2022 net $16 billion , Hedge Fund ในกลุ่ม multi-strategy เช่น DE Shaw และ Millennium. ก็ทำผลตอบแทุนได้ดีเยี่ยมเช่นกัน ส่วนอันดับ 2 ในตารางเป็น Bridgewater ของ Ray dalio และทีมบริหาร ทำผลงานดีเช่นกัน Net ไป $6.2 billion ความพิเศษของข้อมูล Performace ในตารางของเหล่า Top20 ในปี 2022 นี้ที่เราควรจะเรียนรู้ คือ 1. กองทุน hedgefund ผลงานดี ส่วนใหญ่ Top 10 เป็นกองทุนเก่า, ผจก.ประสบการณ์สูง หลายกองทุนเปิดมาตั้งแต่ก่อนปี 1995 ทั้งนั้น 2. ผลงานกำไร Performance ในปี 2022 นี้ ไม่ได้มาจากภาวะตลาด Bull market เพราะปี 2022 เป็นปีที่สินทรัพย์ต่างๆ หุ้น,ค่าเงิน,สินค้าโภคภัณฑฺ์ ล้วนผันผวนมาก จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed แบบรุนแรง และภาวะเงินเฟ้อที่สูง นอกจากนี้ยังเป็นปีพิเศษมาก เพราะทั้ง Stock และ Bond ต่างมี performance ติดลบทั้งคู่, กองทุนที่ รอด และทำผลตอบแทนชนะตลาดได้ ถือว่า strategies และการบริหารความเสี

Tech Companies layoff

ตัวเลขตลาดแรงงานของสหรัฐประกาศออกมาล่าสุดดูดีและเป็นหนึ่งปัจจัยสนับสนุนการตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ด้วย แต่สิ่งที่เกิดในช่วงเดือนที่ผ่านมาปี 2023 คือการประกาศ layoff ในกลุ่มบริษัท Tech และ Sartup หลายแห่งต่อเนื่อง , ล่าสุด Yahoo! เพิ่งประกาศแผนปลดพนักงานรวม 1600 คน (20% ของพนักงานทั้งหมด) ,ส่วน Disney (DIS) เพิ่มประกาศ lay off พนักงานอีก 7000 คน , Dell ปลดคนงาน 6650 คน, Zoom ลดอีก 1300 คน(15%ของพนักงานทั้งหมด), PayPal ปลดคนงาน 2000 คน, IBM ปลดคนงาน 3900 คน, Coinbase ลดอีก 950 คน, Intel ปลดพนักงาน 544 คน เป็นต้น เช่นเดียวกับบริษัท Tech ยักษ์ใหญ่หลายเจ้าในปี 2022 ก่อนหน้า อย่าง Alphabet/Google, Microsoft, Amazon, Facebook ก็ประกาศปลดพนักงานลงเช่นกัน นักวิเคราะห์บางกลุ่มมองว่า สาเหตุมาจากผลประกอบการที่ไม่ค่อยสู้ดี ,รายได้ลดลง บางบริษัทขนาดเล็กเผชิญกับการขาดทุน และคาดการณ์ว่าผลประกอบการจะไม่ดี ทำให้การปลดพนักงาน(layoff) กลายเป็นทางเลือก ที่ลดต้นทุนของธุรกิจลง หลังจากช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีการจ้างงานเพื่อขยายธุรกิจ , หลายบริษัทมี user จำนวนมาก, ผลิตภัณฑ์ได้รับความนิยม แต่ไม่สร้าง

ดูข้อมูลงบการเงิน ด้วย TradingView Financials Report

เมื่อวันก่อนมีคนถามว่า ถ้าเป็นหุ้นไทย มีเว็บไหนดูรายงานงบการเงิน(Financial) แบบสวยๆ dashbord report เข้าใจง่ายบ้าง เท่าที่ผมใช้งานมา ผมว่า TradingView นี้แหละ รายงานและการออกแบบ Graphic ทำออกมาได้ดี อ่านง่าย, และเข้าใจรายละเอียดได้สะดวกดี ล่าสุดเวอร์ชั่นล่าสุด ปรับปรุง UI และหน้าตา Report สรุปเพิ่มใหม่ รวมถึงมีกราฟเปรียบเทียบเชิงเวลา โดยรวมเรียกว่าใช้ง่ายกว่าเดิมอีก เทียบกับ เจ้าอื่นๆมีแต่ตาราง ตัวเลขเยอะๆ ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเลย นอกจากนี้เพิ่มฟีเจอร์ เงินปันผล(การจ่ายปันผลปัจจุบัน,ข้อมูลปันผลในอดีต), การค้นหา ,การแยกข้อมูลแบบรายไตรมาส, สรุปรายปี รวมไปถึงยังมีข้อมูลคาดการณ์งบการเงินอนาคตให้อีกด้วย   ลองเข้าไปใช้งานได้ที่ TradingView มีทั้งหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ข้อมูลครบมาก, นอกจากนั้นยังเอา Financial data มา scan ค้นหา คัดกรองหุ้นตามเงื่อนไขได้ด้วย

ทดลองใช้งาน OpenBB Terminal V2.1.0 (ปี 2023)

 ปีนี้เน้นเทรดหุ้นอเมริกา เป็นหลัก เลยลองหาเครื่องมือใหม่ มาใช้วิเคราะห์และทำระบบเทรด ทำให้มีโอกาสได้เป็นทดลองเล่น OpenBB Terminal จริงๆรู้จัก OpenBB Terminal ,มาตั้งแต่ปี 2022 แล้วแต่ยังไม่ได้เล่นจริงจังเท่าไหร่ ปีนี้มานั่ง setup และลองใช้จริงจังกับ OpenBB V2.1.0 (ล่าสุดปี 2023) พบว่ามันน่าสนใจมาก   ลองมา 2 สัปดาห์ตอนนี้ผมยังเล่นไม่หมด แต่ของข้างในเยอะมาก ที่สำคัญเป็น opensource ด้วย นั่งแกะตัวอย่างต่างๆ สนุกมากเลย ทีมพัฒนาทุมเทจริงๆ เอาหลายๆอันมารวมลงใน OpenBB , มีทุกเรื่อง ทุกด้าน ทั้งแต่ข้อมูล(Stock,Options,Forex,Crypto, Economic data) ,การทดสอบระบบ, การวิเคราะห์พื้นฐาน งบการเงิน, การวิเคราะห์ Quant analysis ,ยัน Portfolio analysis และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ยังผสานรวมกับ financial API เช่น Qauntdl, Alpha Vantage, Financial Modeling Prep, Finnhub, Twitter, Coinbase, SEC, Polygon และอื่นๆ อันหนึ่งที่ผมนั่งเล่นมาสักระยะ คือ stock sceener เขารวมตัวอย่างเงื่อนไขการคัดกรองหุ้นไว้เยอะมาก ทั้ง FA และ TA ในภาพผมทดลองใช้ buffett_like ตัวอย่างจาก Finviz ความชอบคือ พอค้นหารายชื่อหุ้นได้ เอ

Market Profile Vs Volume Profile

พอดีมีน้องคนหนึ่ง DM มาถามว่า 2 ประเภทเครื่องมือนี้ต่างกันอย่างไร คิดว่าหลายคนคงอยากรู้เหมือนกัน จึงนำมาสรุปย่อให้ฟังดังนี้ครับ Market Profile กับ Volume profile นั้นแตกต่างกันในด้านการใช้ data แต่วิธีคิดการวิเคราะห์คล้ายกัน คือดูการกระจายตัว หรือ distribution ของ market activity ในกรอบเวลาที่สนใจเช่น ภายในวัน โดยหลักการพื้นฐานคือการจำแนกลักษณะการกระจายตัวของ พฤติกรรมราคา แบบความเป็นปกติ(normal dis)และความไม่ปกติ ด้วยการ plot การกระจายตัวผ่านกราฟ histogram เป็น chart ที่ไม่ใช่ time series แบบกราฟราคาทั่วไป 1. Market Profile (TPO -Time Price Opportunity) นี้ของ J. Peter Steidlmayer ลิขสิทธิ์ของ CBOT ดูพฤติกรรมตลาดในกรอบ day ตัวนี้ในหนังสือ Technical Analysis ของ John Murphy สอนไว้ละเอียดเลย อ่านตามนั้นได้ สรุปสั้นๆ ใช้ตัวอักษร A,B,C,D เป็นตัว marker นับ เพื่อดูการกระจายของราคาใน price level ต่างๆ ตามโมเดลของ CBOT ส่วนการนับ TPOหรือเลือกข้อมูลราคา นั้นจะมาร์คอักษร ทำความถี่การสังเกตทุก 30นาที ถ้าราคา TPO ซ้ำโซน Price level ก็ขึ้นแถว ต่อๆไป ดังนั้นเราจะเห็นการกระจายตัวของ ราคา ที่เกิดภาย

Trailing Stop Tactic & Trading strategies

 มีกำไร แต่ขายไม่ทัน ด้วยความลังเลบ้าง(อยากได้กำไรเพิ่ม), ตั้ง Target Price สูงเกินจริงบ้าง(จากกำไรกลายเป็นขาดทุน) ปัญหาพวกนี้ทางแก้ไขหนึ่งคือต้อง focus ไปที่การใช้ Trailing Stop ในการเทรดให้ชำนาญและเหมาะสม เพื่อแก้ปัญหาเวลาตลาดผันผวนแทนที่จะไปกำหนดค่าด้วย RRR แบบคงที่ให้ดูคุ้มค่าตามหนังสือ หรือกำหนด target price แบบเอากำไรเยอะๆตามใจของเรา, ลองหัดวิเคราะห์พฤติกรรมข้อมูลราคา, วิเคราะห์ระดับ volatility ให้เหมาะสมกับภาวะปัจจุบัน แล้วลองใช้ Trailing Stop ที่เป็นการออก(exit)แบบลอยตัวดูบ้าง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการเทรดได้เยอะ ครับ(ถ้าใช้เป็น) พูดเรื่องนี้เลยอยากให้เห็นภาพว่า ต่างประเทศเขาทำกันจริงจังมาก เพราะ tactic เล็กๆแค่นี้แต่มีผลต่อ Profit & Loss Curve และ Drawdown มหาศาล สำคัญกว่าการไปนั่งหาเครื่องมือทำนายทิศทางราคาให้แม่นๆเยอะ paper นี้ชื่อ When to sell an asset amid anxiety about drawdowns ช่วยได้เยอะ โดยเฉพาะในช่วงตลาดผันผวน, ซึ่งบางครั้งรอบ mementum ราคามันเปลี่ยน จากเดิมเคยกำไร รอบ 10-15% อาจจะเปลี่ยนกลายเป็นวิ่ง5-8% แล้วสลับลง asset price drawdowns แบบนี้ยิ่งทำให้เทรดเดอ

เรียนรู้การใช้ Trendline จาก ChatGPT

จากโพสเรื่อง ChatGPT ก่อนหน้า, ที่ผมทำการทดลองให้สอนมือใหม่หัดเทรดหุ้น, มีท่านหนึ่งถามมาว่า ถ้าจะให้สอนแบบละเอียดๆเหมือนหนังสือ ทำได้ไหม เมื่อวานผมเลยลองทำบทความเรื่อง Trend Line Analysis (เนื่องจากเป็นหัวข้อที่ไม่ซับซ้อนเกินไป) ไปให้ น้องๆเทรดเดอร์ลองอ่าน แล้วลองเก็บ Feed back กลุ่มเทรดเดอร์ที่เข้าฟังว่าพอเข้าใจไหม ? ผลตอบรับคือ เข้าใจในสิ่งที่อธิบาย ทำให้สรุปได้ว่า ถ้าเราสร้างชุดคำถาม ที่มีกรอบ ของ Key word ที่ครอบคลุม, ตัว ChatGPT ก็ช่วยหา รวบรวมข้อมูลมาให้เราได้พอควรเลย ตัวอย่างการทดลองเรื่อง Trend Line ผมทำชุดคำถามด้วยข้อความจากคำศัพท์ สั้นๆง่ายๆ มีหัวข้อคำถาม เช่น - trend line + technical analysis - How to draw a trend line +method - About common mistakes + trend line - trend line and market volatile - trend line and breakout trading - trend line + trend following + trading strategies - trend line + trading + slope + equation - trend line + trading view + pine script example code ผลคำตอบที่ได้ก็ค่อนข้างประทับใจ บางเรื่องอาจจะตอบสั้นๆไม่ชัดมากแต่ โดยรวมถึอว่าไม่ได้มั่ว Knowledge

แนะนำไอเดียการเขียน Trading Goal 2023

วันนี้เปิดทำงานวันแรกของปี 2023 อยากนำตัวอย่างการเขียน เป้าหมาย/ความตั้งใจประจำปี (New Year's resolution) มาแบ่งปัน, โดยขอยกเอาอันหนึ่งที่ผมชอบมากเป็นของเทรดเดอร์อเมริกัน ชื่อคุณ Duncan เป็นเทรดเดอร์สายอยู่รอด เช่นเดียวกันผม เขาแชร์ Trading Goal ประจำปี 2023 ไว้น่าสนใจมาก ความแตกต่างจากคนอื่นๆคือ แทนที่จะไปตั้ง Goal จะชนะตลาดทำ Return 50% 100% หรือจะทำเงินหลายล้าน ไปออกรถสปอร์ตหรู คุณ Duncan ตั้งเป้าง่ายๆ 3 ข้อเพื่อพัฒนาการเทรดของเขาโดยสรุปว่า 1. ไม่เสี่ยงเกินตัว, จำกัด Risk per Trade ที่ 1% ของ equity balance - เรียบง่ายแต่ทำจริงไม่ง่าย ถ้าไม่มีวินัย แต่ถ้าทำได้จะพัฒนา trading process ของตัวเองไปอีกขั้น 2. ไม่ปล่อย Max Drawdown มากกว่า 7.5% (แกวัดแบบ relative จาก High ของ Balance ) - ข้อนี้ก็สำคัญ แต่หลายคนไม่ค่อยสนใจคือการ บริหารจัดการ Drawdown หรือการคุม Downside Risk ถ้าวางแผนก่อน การเผชิญกับการขาดทุนหนักหรือการขาดทุนสะสมจน เงินทุนหมดพอร์ตก็จะไม่เกิด 3. การมี Money Management แบบก้าวหน้า - เทคนิคนี้ปัจจุบันเทรดเดอร์หลายคนนิยมใช้ เพราะใช้ edge หรือผลการเทรดมาเป็น factor กำหนดขนา

Andy Bechtolsheim วิศวกรไฟฟ้าที่รวยอันดับต้นของโลก

พอดีกำลังศึกษาเรื่อง Cloud และ Data center ETFs ทำให้ไปเจอกับบทความสัมภาษณ์หนึ่งของคุณ Andy Bechtolsheim เป็นคนสำคัญอีกคนในวงการทำให้พบว่าชายคนนี้เป็นอีกคนที่มีวิธีคิด และมุมมองธุรกิจที่ น่าสนใจมาก Andy Bechtolsheim วัย 67 ปี เป็นอีกบุคคลที่อาจจะไม่เป็นกระแสมากบนหน้าสื่อ แต่เขาเป็น วิศวกรไฟฟ้า ผู้ประกอบการ และนักลงทุน ที่รวยอันดับต้นของโลก ด้วยมูลค่าสินทรัพย์ $9.2 billion , Bechtolsheim เป็น co-founded Sun Microsystems ในปี 1982 เป็นอีกคนที่บุกเบิกธุรกิจและการพัฒนาด้าน Computer & IT ของโลกอีกคน สิ่งที่ทำให้เขาร่ำรวยได้ น่าเป็นเรื่องของวิสัยทัศน์ และการกล้าคิดกล้าทำสิ่งใหม่ๆ(เขาไม่ได้เป็นสายวิชาการแบบหัวสูงติดกรอบ เขาไม่ได้จบ phd แต่เป็นคนที่เน้นเรื่องการปฏิบัติ ,การมองหา solution ใหม่ๆที่พัฒนาให้ดีขึ้น) ซึ่งการลงทุนที่เป็นชัยชนะ อันหนึ่งของ Bechtolsheim คือ เขาเป็นคนแรกๆที่่รับฟังและมองเห็นโอกาสจาก Larry และ Sergey ในแผนการก่อตั้ง Google ตอนปี 1998 เริ่มต้นโดย Andy Bechtolsheim ได้เขียนเช็ค 100,000 เหรียญให้ทันทีเพื่อเริ่มดำเนินการและเข้าเป็นหุ้นส่วนของ Google ตั้งแต่เริ่มต้นบริษ

การทดลองให้ ChatGPT สอนมือใหม่เทรดหุ้น

 วันนี้เรียนรู้และทดลองใช้งาน ChatGPT ของ OpenAI , เจ้าตัว chatbot นี้มีอะไรที่น่าสนใจเยอะดี , โจทย์ที่ทดลองคือ ChatGPT สอนให้คนทั่วไป หัดเทรดได้ไหม? การทดลองคือ นำเอาหัวข้อบทเรียนการเทรด จากหนังสือต่างประเทศ สร้างเป็นชุดคำถามราวๆ 50 คำถามทั้งไทยและอังกฤษ ไปถามเจ้า Chatbot ตัวนี้ แล้วให้ น้องที่กำลังหัดเทรดหุ้น มาฟังคำตอบและช่วยลงคะแนนว่า พอเข้าใจได้ไหม ผลการทดลอง พบว่าส่วนใหญ่ สามารถตอบคำถาม และให้คำแนะนำได้ไม่เลวทีเดียว โดยเฉพาะหัวข้อประเด็นใหญ่ๆ สามัญที่มีข้อมูล บทความบนอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก เรียกว่าถามได้ทุกประเด็น เช่น Grid Trading , Money management และอื่นๆ ส่วนเรื่องสามัญเช่น Technicle analysis นี้เรียกว่าสามารถ หาข้อมูล เรียบเรียงมาตอบได้เกือบหมดทุกคำถาม (ทดลองไป 30 ชุดคำถาม) ที่น่าสนใจคือสามารถใช้ภาษาไทยได้ด้วย, อันนี้ลองกับคำถามไม่ยาก ก็เรียบเรียงประโยคตอบออกมาแบบพอเข้าใจได้ แต่คำตอบอาจจะไม่ละเอียดมากพอ เมื่อเทียบกับคำถามเดียวกัน ในภาษาอังกฤษ แต่ส่วนใหญ่อาจจะไม่ใช่คำอธิบาย แต่เป็นชุดคำตอบแบบสั้นๆกระชับๆ ไม่ได้ลงรายละเอียด ซึ่งหลายเรื่อง พบว่ามันมีประเด็นรายละเอียดที่ขึ้นกับ แ

Long History of US 10-year Treasury Yields

 ปี 2022 น่าจะแน่นอนแล้วว่า S&P500 ปิดติดลบ(ถ้าปาฏิหารย์ไม่เกิด ส่วนจะลบเท่าไหร่ติดตามช่วงตลาดท้ายปีอีกหน่อย), ส่วนบทความ Market Outlook ของปี 2023 หลายค่ายมีแต่มองว่าปีหน้าตลาดพันธบัตรจะกลับมาแรงอีกครั้ง(เหตุผลลองอ่านบทวิเคราะห์จาก morganstanley ในลิงค์ได้) วันนี้เลยนำเอาภาพกราฟ US 10-year Treasury Yields พร้อมเหตุการณ์ เศรษฐกิจ,การเมือง ที่เกิดในช่วงปีต่างๆ ย้อนหลังไปถึง 1790 มาแชร์ต่อให้ดูกัน โดยเฉพาะช่วงที่เกิด Hyper Infation พร้อมการปรับดอกเบี้ยขาขึ้นของ Fed และภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในอดีต เราจะเห็น US 10-year Treasury Yields ปรับตัวขึ้นรุนแรง ,แม้ปี 2022 นี้การขึ้นดอกเบี้ยของ Fed แบบ Aggressive rate hikes จะทำเอา US 10-year พรุ่งปรี๊ดข้ามปี แต่กรอบเพดาน US 10-year Treasury Yields หลังปี 2000 มายังไม่ทะลุเกิน 6% เลย   ในขณะที่ปีนี้ 2022 การเกิด inverted yield curve เกิดบ่อยขึ้นเรื่อยๆและระยะห่างก็เพิ่มมากขึ้นจากปี 2021 ปีหน้า 2023 คงตามกันต่อว่าจะเป็นอย่างไร อ้างอิงจาก https://www.morganstanley.com.au/ideas/bonds

บันทึกค่าเงินเยน ที่ไม่เย็นอีกต่อไป

 เรียกว่าดราม่ามากกับค่าเงิน JPY และตลาดหุ้นญุี่ปุ่น หลังจาก BOJ ออกมาแถลงทำเอา surprise ตลาด ด้วยการประกาศขยายกรอบอัตราผลตอบแทนพันธบัตร Bond Yield 10 Year จากเดิม -0.25% ถึง +0.25% ขยับเพิ่มเป็น -0.5% ถึง +0.5% เพื่อเป็นการเปิดทางให้ Bond Yield 10 Year สามารถปรับตัวสูงขึ้นได้ ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดัน และส่งเสริมให้ BOJ ยังทำการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย อัตราดอกเบี้ยติดลบต่อไปได้ , ซึ่งเมื่อวาน BOJ ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดลบ ไว้ที่ -0.1% ถ้าตามข่าวมาจะพบ BOJ ปีนี้ทั้งแทรกแซงอุ้มค่าเงิน JPY และเข้ามาอุ้มตลาดพันธบัตร ด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลจำนวนมากเพื่อรักษากรอบผลตอบแทนฺ Bond Yield ที่ 0.25% , ดังนั้นถ้าเกิดแรงขายหนักในพันธบัตรรัฐบาลญุี่ปุ่น อาจจะทำให้ BOJ เข้ามาใช้เงินจำนวนมากในการรับซื้อและถือครองพันธบัตรเกินกว่า 50% ,อาจจะกลายเป็นการแทรงแซงราคาและบิดเบือน demand ในตลาดพันธบัตรของตัวเองแบบ เป็นประวัติการณ์เลย หลังแถลงจบเกิดความปั่นป่วนอย่างรุนแรง โดย Bond 10Y Yield พุ่งไป 0.435% (ราคาหน้าตั๋ว Bond รุ่นเก่าร่วงหนักจากแรงขาย เพราะรุ่นใหม่ได้ Yield สูงกว่า) ส่วนดัชนีนิกเกอิร่วงลงกว่า 500 จุด

ข้อมูล สำคัญในการเลือกซื้อกองทุน

  วันหยุด เลยมีเวลานั่งทำการบ้าน, เลือกกองทุนกับรุ่นน้อง ,จัดพอร์ตรอรับปีหน้า (2023) ไปเลย การซื้อขายกองทุน ปัจจุบันมีหลาย application ที่ออกมามาก แต่ตัวที่ให้ data ครบและเข้าใจง่าย ต้องยกให้ finnomena โดยเฉพาะข้อมูลสำคัญ เกี่ยวกับ"ค่าธรรมเนียม" ต่างๆ, ค่าใช้จ่ายของกองทุนที่อยู่ในหนังสือชี้ชวนและตัวเลขเก็บจริง เขานำมาสรุปให้เห็นหมด เลย ข้อดีคือเราจะทราบต้นทุนรวม เช่น ค่า Total Expense Ratio +Trading Fee(Front & Back end) ในการซื้อขายกองทุนทั้งหมดก่อนลงทุน ที่สำคัญสามารถเปรียบเทียบ ระหว่างกองทุนต่างๆ ที่เราสนใจได้ด้วย อันนี้สำคัญ เพราะถ้าวางแผนทำพอร์ตระยะยาว การไปดูแต่ performance ในอดีตแล้วคาดหวังว่าจะได้ผลตอบแทนดี นี้ fail มาเยอะแล้ว , บางกองหักปีละ 4-5% ไม่ว่า performace จะดีหรือแย่แค่ไหน แบบนั้น ถ้าถือระยะยาว อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดของการเติบโตของพอร์ตได้, ถ้าเราเน้นถือยาว เน้น passive การเลือกกองทุนที่มี Total Expense Ratio + Trading Fee(Front & Back end) ไม่สูงก็น่าจะเหมาะสมกว่า ถ้าใครสนใจ หาเครื่องมือการบ้าน, แบบยังไม่ต้องเปิดบัญชี ก็ลองเข้าไปเล่นของ finnomena ได