ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

Historical Parallels to Today’s Inflationary

วันนี้ผมได้อ่านบทความฉบับหนึ่งจาก blog ของทีมที่ปรึกษาเศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐ whitehouseCEA เขาเขียนถึงประวัติการเกิด Inflation ไว้น่าสนใจมากและยาวมาก ประเด็น infaltion ที่สหรัฐตอนนี้มีการถกเถียงและวิเคราะห์กันมากและหลากหลาย ในมุมต่างๆ บทความนี้เขียนโดยนักวิชาการสายรัฐบาล แต่ก็มีข้อมูลอดีตที่เขารวบรวมไว้ได้ละเอียดมาก (มากพอกับในหนังสือ Big Debt Crises ของ Ray Dalio เลย) รายละเอียดเยอะมากไม่ขอแปลทั้งหมด แต่สิ่งที่น่าสนใจคือการเกิดภาวะเงินเฟ้อสูงในอดีตตั้งแต่หลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 บทความนี้นำเสนอมีทั้งหมด 6 episode หลายครั้งเกิดจากเหตุไม่ปกติของ supply ในระบบ (Supply chain disruption) และโยงไปกับต้นทุนการผลิตเช่น ภาวะราคาน้ำมัน ที่สูงจากการขาดแคลนเป็นต้น รวมถึงการเกิดสงครามใหญ่ เช่นสงครามเกาหลี, สงครามอิรักบุกคูเวต เป็นต้น Episode ล่าสุดที่ระดับ CPI ขึ้นมาถึง 5% เป็นช่วงปี 2008 ที่มีการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน แบบฉับพลันจาก $70 ไปจุดสูงสุด $140 ในเวลา 2 เดือนเท่านั้น ซึ่งสาเหตุต่างๆทำให้เกิด demand and supply chain disruptions ที่รุนแรงและมีผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ CPI พุ่ง

Ethereum Upgrades Could Jumpstart $40 Billion Staking Industry

  Bitcoin & Altcoin Market crash รอบที่ผ่าน(May 2021) และหลังจากนั้น story หลักหนึ่งที่กดดันอารมณ์ตลาด คือเรื่องของการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า กระทบสิ่งแวดล้อม(จุดประเด็นโดยท่าน elon musk), การปิดเหมือง Bitcoin Mining ในจีน ซึ่งประเด็นหลักโยงไปกลุ่ม proof-of-work มาสัปดาห์นี้หลังราคา cryptocurrency หลายตัว พักตัวใน zone รับยืนระยะได้ ก็มี story เชิงบวกออกมาเรื่อยๆ ที่เรียกว่าเป็นเชิง solution อันนี้ดูจะเป็นประเด็นใหญ่ช่วงนี้คือพี่ใหญ่แบบ JPM ออกมาให้ข่าวว่า Staking คือสิ่งใหม่ ที่ดึงดูดเงินนักลงทุนรายย่อยและสถาบัน ให้เข้ามาลงทุน เพื่อรับ reward ผลตอบแทน ในช่วงอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดย JPM ชูประเด็น Ethereum 2.0 ที่กำลังจะมาถึงในช่วงปลายปีกับการอัพเกรดเปลี่ยนไปเป็น proof-of-stake ซึ่งเมื่อพี่ใหญ่อันดับ 2 ของตลาดคริปโต หันมา staking มันย่อมขับ demand ของ ETH ให้เพิ่ม(ราคา ETH ยืนเหนือ $2000 หลังลงไป $1700) รวมไปถึงจะดึงดูดให้ นักลงทุนเข้าร่วม staking เพื่อรับผลตอบแทน ผ่าน staking pool หรือรายใหญ่เข้ามาเป็น validator node นักวิเคราะห์ JPM ให้ข้อมูลในรายงานว่าปัจจุบันการลงทุนเพื่อ St

Improving Your Trading Consistency

วันนี้นั่งฟังรายการ Three Minute Trading Coach ของคุณ Brett Steenbarger เขาแนะนำเรื่องของ Trading Consistency การตัดสินใจเทรดได้ดีและต่อเนื่อง จากมุมมองของนักจิตวิทยา โดยสรุป Dr. Steenbarger บอกว่าให้เริ่มจากการรับรู้(Observation) ข้อมูล,รับรู้สภาวะของ Market เพื่อทำความเข้าใจรูปแบบของพฤติกรรมตลาด(Pattern) ที่เกิด , ส่วนใหญ่ก่อนในวันเริ่มเทรด เขาพยายามศึกษา ทำความเข้าใจ เช่นการมองการเคลื่อนที่ของราคา(Price Movement & Trend), กรอบราคาและการ Breakout สุดท้ายมองหาแนวราคาที่อาจจะเกิดการกลับตัว(Reversal) ซึ่งรูปแบบ ในภาวะตลาดจะเกิดแตกต่างกันไป Key สำคัญเพื่อให้เกิดการเทรดได้ดีและต่อเนื่อง คุณ Steenbarger เขาเน้นการเปิดใจ(open mind) เพื่อเข้าใจสิ่งที่เกิดจริง(Reality) ก่อน ที่จะไปตั้งธงมี Bias โดยจดจ่อกับกำไรหรือขาดทุนอย่างเดียว เพราะการมองแค่ผลกำไรหรือกลัว กังวลกับการขาดทุน จะทำให้ไม่สามารถมองเห็นภาพที่ควรเป็นจริง ได้ครบหรือดีเพียงพอ ยิ่งทำมากๆจะสะสมเป็นประสบการณ์ , การเข้าใจตลาดที่ดีจะทำให้เราตัดสินใจแบบ Real time ได้ดี , ซึ่งดีกว่าการตั้งฤธง หรือไปตั้งเป้าการทำนายว่า วันนี้ราคาจะต้อ

Global Inflation Data

  สินทรัพย์พวกปกป้องเงินเฟ้อเข้าภาวะขยับและทรงกันมาสักระยะ โดยเฉพาะทองคำค้างในโซน 1780 จากสัปดาห์ที่แล้ว สัปดาห์นี้ยังนิ่งอยู่ ในตลาดสหรัฐ ประเด็นเงินเฟ้อก็เป็นประเด็นใหญ่ ที่ทั้งสื่่อและนวค. กำลังพูดถึง โดยเฉพาะตัวเลขระดับ 5% ที่น่าจะมาถึง ล่าสุดมีอดีต รมค.คลังอย่างคุณ ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส ออกมาให้ความคิดเห็นเงินเฟ้อว่าปีนี้ ปลายปีโอกาสไป 5% เช่นเดียวกันการน่าจะได้เห็นทิศทางของผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐในแนวโน้มขาขึ้น เขามองว่าตลาดการเงินอาจจะปั่นป่วนได้เช่นกัน ออกมาตรงข้ามกับนักเศรษฐศาสตร์ และกูรูหลายท่าน เช่น คุณ เจเน็ต เยลเลน ที่ว่าน่าจะเป็นภาวะเงินเฟ้อชั่วคราว ไม่นานก็ผ่านไปเข้าภาวะปกติ ภาพข้อมูลจากคุณ charlie bilello ข้อมูลเงินเฟ้อ CPI(%YoY)แต่ละประเทศ เราจะเห็นความแตกต่างค่อนข้างมากทีเดียว ต่ำสุดเป็น ญีุ่ปุ่น -0.01% (ถึงติดลบเลย) ใครจะไปคิดว่าปีนี้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกแต่ดูเหมือนจะไม่ได้ช่วยอะไรกับการขยายตัวของเศรษฐกิจเท่าไหร่แบบที่หวังเมือ 4 ปีก่อนเมื่อโดน covid เข้าไป ส่วนสิงค์โปรใกล้บ้านเรา อยู่ที่ 2.4%, ฟิลิปินที่ 4.5% ส่วนสหรัฐนี้พุ่งไป 5% ขยายตัวแรงมากจากหลังช่วงเปิดเศรษฐกิจรอบใ

Age of Samurai

  วันนี้มีโอกาสได้ดูซีรีย์เรื่อง Age of Samurai ทาง Netflix ต้องเรียกว่าเป็นอีกหนังซามูไร ที่ดีและน่าสนใจมาก เรื่องหนึ่ง ดูเรื่องนี้จบทำให้เข้าใจถึงการต่อสู่ แย้งชิงอำนาจในช่วง 1568-1603 ยุคโมโมยามะถึงต้นยุคเอโดะ ของญุี่ปุ่น แต่อดเศร้าใจและสงสารประชาชนไม่ได้ ถ้าไม่ถูกบังคับให้ทำนา ส่งส่วยส่งเสบียงสำหรับเจ้าตระกูลจนไม่มีจะกิน, ก็ต้องโดนเกณฑ์ไปเป็นทาสหรือเบี้ย เพื่อรบแนวหน้า ในสงครามแย่งชิงอำนาจระหว่างตระกูลแบบไม่รู้จบ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นไดเมียวคนไหนก็เลว โหดร้าย และหวังจะเอาชนะเพื่อแสวงหาอำนาจไม่แพ้กัน โอดะ โนบูนางะ นี้โหดเหี้ยม หวังรวมประเทศปราบไดเมียวทำสงครามเป็นว่าเล่น จุดจบตายไม่สวยโดนหักหลัง พอมายุคโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ ซามูไร ขุนศึกมือขวาของ โนบูนางะ ที่ก้าวมาจากศูนย์ชนชั้นชาวนา ล้างแค้นแทนเจ้านายและขึ้นครองอำนาจต่อประเทศ ทำสงครามปราบกบฏหลายปี จนเหมือนประเทศจะสงบไม่ต้องรบกันเอง แต่ก็ต้องมาทำสงครามกับต่างชาติอย่าง จีน และเกาหลี เพียงเพราะ ฮิเดโยชิ จิตไม่ปกติ ฟุ่งซ่านอยากเป็นใหญ่เหนืออาณาจักรอื่นๆ ทำเอาคนต้องล้มตายไปมากมายและเผชิญกับความผ่ายแพ้อย่างย่อยยับ จุดจบช่วงสุดท้าย Age of Samurai

THE NEXT LEG OF THIS BULL MARKET

  S&P500 ล่าสุดนี้ recover กลับมาได้เกือบหมด หลังจากลงไปช่วงต้นสัปดาห์กับความกังวลจากเงินเฟ้อและนโยบายของ Fed , ล่าสุดมีหลายบทความ ที่กูรูต่างประเทศเขียนถึง การปรับเพิ่มขึ้นของ ตลาดหุ้นสหรัฐ ในอนาคต ว่าจะสามารถไปต่อได้หรือไม่ ? มีบทความหนึ่งน่าสนใจชื่อ THE NEXT LEG OF THIS BULL MARKET , ของคุณ Ted Lamade โดยสรุปเขามองว่าการขับเคลื่อนตลาดขาขึ้นในอนาคตยังเกิดได้ ในลักษณะบริษัทต่างๆที่นำเอา Technology มาใช้ใน2-3 ปีข้างหน้า น่าจะเพิ่ม productivity และลดต้นทุนการผลิต ตามมาด้วยการเพิ่มของรายได้ และกำไร ของบริษัท แต่มุมมองของคุณ Ted ต่างจากคนอื่นนิดตรงไม่ได้มองว่ากลุ่ม Tech ยังคงเป็นตัวจักรสำคัญ ในการเพิ่มของราคา, แต่เขามองหุ้นกลุ่ม value stocks ที่ปรับเปลี่ยนเอา technology มาใช้ในการทำธุรกิจแล้วสำเร็จ(leverage ด้วยเทคโนโลยี) จะกลายเป็นหุ้นขยายมูลค่าและเป็นตัวนำในตลาด Bull market รอบใหม่ โดยเขายังเชื่อว่าแรงส่งจาก economic growth, อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น, และการอ่อนค่าของ USD จะยิ่งช่วยทำให้หุ้นเหล่านี้เติบโตมากไปอีก สุดท้ายคงต้องติดตามกันต่อไปครับ อ่านฉบับเต็ม https://tedlamade.substack.co

Financial Independence, Retire Early (FIRE)

  พอดีมีโอกาสได้ทำโปรเจคกับรุ่นน้องคนหนึ่ง เขาเพิ่งจบ ป.โท จากอเมริกามา น้องคนนี้พอรู้ว่าสนใจเรื่องการลงทุนเหมือนกัน เจอกันทีก็คุยกันยาว เพราะเขาเป็นสาย FIRE เจ้าตัวบอกเลยถ้าเกษียณได้ก่อน 40 จะดีใจกว่าจบ ป เอก 3 ปีอีก, ระหว่างอยู่อเมริกาน้องเขาไปร่วม club ด้าน FIRE ทำให้เขาสนใจมา จากการนั่งคุยกันทำให้มีหลายประเด็นที่ผมสนใจ และลองกลับมาศึกษาเพิ่ม(ตอนแรกที่ได้รู้จัก FIRE ไม่ค่อยอินเท่าไหร่เพราะมันทำยาก) Financial Independence, Retire Early เกิดมานานแล้วจากหนังสือ "Your Money or Your Life แต่มาฮิตหลังซับไพร์มโดยเฉพาะ 4-5 ปีก่อนโด่งดังมากในโลกออนไลน์ และมีคนสนใจเยอะด้วย ประเด็นหลักถ้าจำกันได้คือเรื่อง latte factor นั้นเอง ซึ่งหลายคนมองว่าแนวคิดนี้ดีน่าสนใจ บ้างก็ว่ามันสุดโต่งและทำได้ยาก แต่ปัจจุบัน FIRE มีหลายสายมาก เช่น Fat FIRE,Lean FIRE,Barista FIRE, Coast FIRE ไม่จำเป็นต้องสุดโต่งแบบเก็บเงินเพื่อลงทุน 50%-70% ของรายรับทุกเดือน เพื่อให้ได้เงินล้านและรีบเกษียณก่อนอายุ 30 ปี อีกอย่างปัจจุบัน FIRE เริ่มเข้าใจเรื่อง DCA effect ตอนขายหุ้นมากขึ้น, รวมถึงนำค่าเงินเฟ้อไปปรับค่าเป้าหม

How To Keep Your Passion For Trading Alive

พอดีวันนี้อ่าน mail มีน้องคนหนึ่งถามเรื่อง หมดไฟ เข้ามาน้องบ่นให้ฟังเรื่องผลการเทรดที่ไม่ดี ขาดทุนบ่อยจนท้อ บวกแรงกดดันจากทางบ้าน ทำให้ทุกอย่างมันดูแย่ไปหมด คลิปนี้ของ Brett Steenbarger แนะนำหัวข้อนี้ไว้ คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับหลายคนเลยอยากนำบทสรุปภาษาไทยสั้นๆมาแชร์ไว้ โดยคุณ Steenbarger วิเคราะห์ปัญหาของการหมดไฟ ของเทรดเดอร์นั้นมักมาจากเมื่อขาดทุน บ่อยๆ กำไรไม่มากพอ ไม่เหมือนที่คาดหวังไว้ (expectation) ยิ่งเจอภาวะตลาดผันผวนเปลี่ยนไปมา เคยทำกำไรได้กลายเป็นขาดทุน กำไรหายทุนหมด หมดไฟไปในที่สุด ซึ่งปัญหาหนึ่งคือ เทรดเดอร์เริ่มต้นจาก ภาพ fantacy ที่ตัวเองคาดหวัง ภาพของการทำเงินได้เยอะๆตามที่เห็นในสื่อในโลกออนไลน์ ทำให้หลุด จากความเป็นจริง(Reality) จนมองข้ามงานหนักที่ต้องทำและกระบวนการเรียนรู้(learning curve) ในสนามจริงเพื่อพัฒนาทักษะ สะสมประสบการณ์ก่อนก้าวข้ามไปถึง จุดทำกำไรได้ต่อเนื่อง และอยู่รอดในตลาดอย่างแท้จริง โดยคุณ Steenbarger ได้ให้คำแนะนำ 3 ข้อสำหรับการรักษา passion ในการเทรดไว้ ดังนี้ 1. ค้นคว้ามั่นเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หัดสร้างตัวเองให้กล้าทดลอง ทำสิ่งใหม่ๆ มองหาโอกาส เรียนรู้

Zero cost position tactic

  ผมเคยอธิบายเทคนิคการปรับต้นทุน การขายทำกำไรลดต้นทุนการถือสถานะเพื่อลดผลกระทบที่เกิดจาก market volatility หรือการทำ Zero cost position ให้ฟังบ่อยๆ วันนี้ผมมีคลิปหนึ่งเอามาให้ดูเป็นเทคนิคของนักลงทุนระยะยาวชื่อคุณ Mark Meldrum (คนเก่ง Finance ใครที่สอบ CFA น่าจะเคยตามหรือดูคลิปช่องของเขา) รายละเอียดมีพอควรแต่ผมจะมาสรุป Key สำคัญให้ฟัง 1. การเทรด spot หรือสินค้าแบบหุ้น(ที่ดี) ไม่ใช่ leverage ได้เปรียบเรื่อง "เวลา" ซึ่งเอามาหาประโยชน์จาก volatility ที่เกิดในตลาดได้ 2. Volatility เกิดจากความอ่อนไหว จากปัจจัยเสี่ยงภายนอก(เศรษฐกิจ+ข่าว+ผลประกอบการ) ของผู้เล่นในตลาด(รายใหญ่,รายย่อย) โดยเฉพาะสายที่ margin trading, long + leverage หรือ long short strategies ที่ต้องเทรดไปตามภาวะตลาดระยะสั้นที่เกิด (โดยเฉพาะภาวะตลาดผันผวนมากๆ ยิ่งทำให้เกิดพลวัตรตลาดมากตาม เช่นจากการ sell off หรือการ deleverage) 3. แรงขับระยะยาวมาจาก นักลงทุนสถาบันรายใหญ่ ที่มีเป้าหมาย long bias (บางช่วงเวลาอาจจะมีการลดสถานะได้เช่นกัน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการ long ใน investment time horizon ระยะยาว) มาร์คมองว่าความน่าจะเป็น

How to Hedge Against Inflation

บทความน่าสนใจจากคุณ Ben Carlson Director จาก Ritholtz Wealth Management. เขียนถึง inflation หลังล่าสุดข้อมูล US CPI เพิ่มจากปีก่อนหน้า +5% , ในด้านสถิติเป็น biggest CPI gain มากสุดตั้งแต่ปี 2008 ก่อนช่วง financial crisis , นอกจากนี้ยังมีตัวเลขราคารถมือสองและราคารถ ที่เพิ่มสูงขึ้น 7.3% จากเดือนก่อนหน้าและเพิ่ม 29.7% รอบ 12 เดือน ซึ่งนวค.มองว่าเป็นหนึ่งปัจจัยเร่ง inflation มาเกิดช่วง reopen economy ที่จะมีผลต่อ demand และ supply ในระบบ ด้าน นวค. แนะนำให้จับตามอง inflation ซึ่งแนวโน้มการเพิ่ม inflation ในช่วงอัตราดอกเบี้ยต่ำ อาจจะส่งผลต่อท่าทีของ Fed ที่อาจจะมีนโยบาย หรือแผนออกมาหลังตัวเลข CPI เพิ่มสูง ขณะที่ Initial jobless claims ล่าสุดออกมา 376,000 สูงกว่าคาด , Ben Carlson นำเสนอข้อมูลความสัมพันธ์ของ inflation กับผลตอบแทน U.S. stock market (S&P 500) ในช่วงต่างๆ โดยเฉพาะช่วงปี 1970s ที่เกิด high inflation สูง 6.8% แม้ real return ของ S&P500 ปิดได้ราวๆ 7.7% ทำให้ผลตอบแทนหลังปรับค่าเงินเฟ้อ -0.9% ซึ่งผู้เขียนแนะนำให้ เราไม่ควรประมาทกับ inflation ควรหาทางป้องกันพอร์ตเงินทุนขอ

Commodities super-cycle จะมาหรือไม่??

  วันนี้เป็นอีกวันที่ได้ยินคำว่า "commodities super-cycle" จาก podcast ที่ฟัง ประโยคนี้มีการพูดถึงมาตั้งแต่ต้นปี 2021 ที่ราคา commodity มีการเปลี่ยนแปลงรุนแรง และทำจุด New High หลายตัวพร้อมๆกัน ทั้งกลุ่มโลหะ, สินค้าเกษตร(agricultural commodities) และอื่นๆ ความน่าสนใจคือเดือน May ที่ผ่านมา หลังสหรัฐมีการประกาศความสำเร็จในการฉีดวัคซีน covid-19 + มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหญ่ ทำให้ นักวิเคราะห์เริ่มออกมาพูดถึงผลกระทบระยะสั้น จากการเปิดเศรษฐกิจ เช่นเรื่องของ demand shock ที่อาจจะเกิด รวมถึงเรื่องของตัวเลขสะท้อนการเพิ่ม inflation , สัปดาห์นี้ commodities super-cycle กลับมาอีกรอบเพราะน้ำมันดิบ (WTI และ Brent ) ต่างทำจุดสูงสุดใหม่ สัปดาห์นี้ไปแตะ $69.32, จะHigh นับตั้งแต่ปี October 2018 (ผ่านพ้นช่วงถดถอยหนักมาได้) น้ำมันมารอบนี้ก็ดีใจกับ น้องๆและเพื่อนๆสาย oil trader กันด้วย แม้ WTI จะเป็นคอมโมดิตี้ที่มาช้ากว่าเพื่อนในกลุ่ม metal แต่ชัดเจนว่ามาจริงๆตาม นวค.คาด Gregor Spilker, CME Group เขียนบทความเดือนก่อนว่าการเพิ่มของ demand จากการกลับมา reopen economy + นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจขอ

Crypto-low-risk : การบริหารต้นทุนในพอร์ต Cryptocurrentcy

  ความเสี่ยงสำคัญของการเทรด Cryptocurrentcy คือการไม่รู้ต้นการถือครองเหรียญในพอร์ต บางคนซื้อเพราะเชื่อว่ามันจะขึ้น,ซื้อแบบ FOMO กลัวจะตกรถ, แน่นอนว่าพอมันลงแรงๆรอบ market crash ที่ผ่านมา ก็เห็นคนซื้อถัวเฉลี่ย. ซื้อตอนย่อ -20% ถึง -30% เพราะคิดว่ามันคิดว่ามันจะเด้งขึ้น แต่พอมันลงไป -50 -70% เงินหมด ทุนจมขาดทุนสูงมากได้แต่ ดอยและรอคอยความหวังให้ราคาเหรียญเด้งกลับมารับ ความเสี่ยง จากการถมเงินลงไป หรือเข้าซื้อขายตามอารมณ์ นี้เกิดขึ้นเสมอโดยเฉพาะภาวะราคาสินค้ามีความผันผวนสูง การจะจำกัดความเสี่ยงให้ต่ำและเกิดประสิทธิภาพในการถือครอง Cryptocurrentcy ในระยะยาวเราต้องบริหารต้นทุนให้เป็น ปัจจุบันโบรกเกอร์ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำการคำนวณต้นทุนและทำระบบติดตามต้นทุนให้เรา , นอกจากโบรกเกอร์ใหญ่บางเจ้าต่างประเทศจะมี Feature การคำนวณต้นทุน P&L analysis ให้ , บาง app มีให้ใช้แต่อาจจะไม่ฟรีและต้องกรอกบันทึกข้อมูลการซื้อขายเอง แต่แน่นอนว่าย่อมดีกว่าการไม่จดไม่บันทึกอะไรเลย ซึ่งจุดนี้ "spreadsheet is your friend" ครับ ต้องจดต้องบันทึกเอง , ส่วนตัวผมก็ใช้ spreadsheet ง่ายๆ บันทึกรายการเทรดแต่ละครั้ง

REITs & Re open economy theme

  REITs เป็นสินทรัพย์ประเภทหนึ่งที่โดนผลกระทบจาก covid-19 หนักหน่วงมาก ซึ่งจะเห็นการถดถอยของราคา REITs ส่วนใหญ่ของโลกเมื่อเทียบช่วงต้นปี 2020 ล่าสุดเริ่มมีกูรู นักวิเคราะห์กลับมาพูดถึง REITs มากขึ้น รับกับ theme การ Reopen Economy หลังหลายประเทศ เช่น จีน,สหรัฐ,อังกฤษ วัคซีนเริ่มได้ผลดีในการควบคุมการระบาด จนเกือบจะกลับมาเปิดเศรษฐกิจได้อีกครั้ง Mike Zaccardi, เขียนบทความโดยอิงข้อมูลในสหรัฐ ซึ่งเขาทำการวิเคราะห์ US REIT โดยแยกเป็นประเภทของ REIT ได้แก่ -กลุ่มได้ประโยชน์หรือมีผลกระทบน้อย COVID beneficiaries (Specialty, Industrial, and Storage REITs) , -กลุ่มได้รับผลกระทบมาก immediately impacted the hardest (Retail, Hotel/Resort, Healthcare) -กลุ่มผลกระทบตามช่วงการปิดเมือง “Slow Burn” group (Residential and Office REITs). ตามภาพจะเห็นว่ากลุ่มรับผลกระทบมาก REIT ท่องเที่ยว,โรงแรมนี้หนักสุด แต่ก็เห็นสัญญาณการ rebound มากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงเดือน มีค. - เมย. เช่นเดียวกับกลุ่มอื่นๆ ส่วนกลุ่ม COVID beneficiaries พวกนี้ได้รับผลกระทบน้อย และเริ่มมีแรงซื้อกลับเข้ามาเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ต้น

Crypto-low-risk : Diversification&Coin Selection

  Crypto-low- risk : Diversification&Coin Selection ................................... บทความนี้ตั้งใจเขียนเพื่อแชร์ไอเดีย ต้องเคลียร์ก่อนจริงๆไม่ใช่ Cryptocurrency เป็นสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ แต่สิ่งที่เราทำได้คือจำกัดความเสี่ยง(Risk)ในพอร์ตของเราให้ต่ำที่สุด เพื่อให้การลงทุน/เทรด Cryptocurrency ไม่ทำร้ายตัวเรา ตอนสองเป็นเรื่องของการกระจายความเสี่ยง(Diversification) และ Product selection , เพื่อความเข้าใจง่ายมองเหรียญคริปโต เหมือน หุ้น มีหลายประเภทหลายกลุ่ม แม้จะอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน, เหรียญคริปโตตัวหลักมีมากกว่า 50 ชนิดแต่พอเราศึกษาเชิงลึกจะพบว่า Business model และการนำไปประยุกต์ใช้นั้นแตกต่างกัน , จุดนี้มีผลในระยะยาวเพราะเมื่อมีการนำ Block chain technology ไปประยุกต์ใช้มากขึ้นๆๆใน 2-3 ปีข้างหน้า บทบาทและการเติบโตของ เหรียญ Cryptocurrentcy ย่อมเพิ่มตาม(Growth Factor) แม้ปัจจุบัน Cryptocurrency ส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์(correlation) ระดับสูงกับ Bitcoin กล่าวคือยังแชร์ Risk Factor เดียวกัน เหมือนหุ้นที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่สิ่งที่เห็นจากข้อมูลช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาคื

crypto-low-risk : Asset Allocation

  crypto-low- risk : Asset Allocation ............................... เมื่อสุดสัปดาห์มีโอกาสไปแชร์ประสบการณ์เทรดและถกเรื่องตลาดคริปโตในช่วง market crash ที่ผ่านมา ผมนำไอเดียการสร้างพอร์ต digital asset แบบความเสี่ยงต่ำไปแลกเปลี่ยนกับ พี่ๆน้องๆเทรดเดอร์ วันนี้เลยจะมาแบ่งปันไอเดีย ไว้ในเพจด้วยเพื่อว่าใครที่สนใจจะได้ลองนำไปประยุกต์ใช้(ย้ำเป็นแนวทางส่วนตัว ไม่ซิ่งแต่ก็เน้นปลอดภัยไม่ตกรถแน่นอน) หัวข้อที่ 1 เป็นเรื่องของการทำ asset allocation ปัจจุบัน crypto currecntcy กลายเป็น asset ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากโลกการเงินไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหรือแม้แต่บริษัทวาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่เช่น JPM, Goldmansach และ Blackrock ก็แนะนำลูกค้านักลงทุนในการสะสม crypto currecntcy ในพอร์ตกันแล้ว , ประเด็นสำคัญคือ จะถือเท่าไหร่ ที่เหมาะสม? กับ ความเสี่ยง(Risk) ที่เรารับได้ อันนี้เป็นโจทย์ ที่แต่ละคนไม่เหมือนกัน คริปโตเช่น Bitcoin มีระดับความผันผวนสูงมาก โดยเฉพาะ ถ้าต้องเข้าซื้อใน ราคาปัจจุบัน(ปี2021) ดังนั้นมองแต่ Return ในอนาคตและเป้าของนวค. ที่ $100000, ไม่พอ แต่ต้องคิดถึง Risk contribution ที่จะส่งกลับมาด้วยเม